เคยมีข้อสงสัยที่โด่งดังอยู่ช่วงหนึ่งว่า “มะเขือเทศ” กินแบบไหนถึงจะได้ประโยชน์มากที่สุดกันแน่ ระหว่างดิบๆ กับทำให้สุก และมหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้ให้ความกระจ่างไว้แบบนี้ว่า…
การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสารไลโคพีนในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากมะเขือเทศ (ที่น้ำหนักเท่ากัน) เช่น ซอสมะเขือเทศ (Tomato ketchup) น้ำมะเขือเทศ ผลิตภัณฑ์มะเขือเทศเข้มข้น (Tomato paste) ซุปมะเขือเทศเข้มข้น มะเขือเทศปรุงสุก มะเขือเทศผง และมะเขือเทศสด
ทำให้สามารถเรียงลำดับปริมาณของไลโคพีนจากน้อยไปมากได้ดังนี้
มะเขือเทศสด < มะเขือเทศปรุงสุก < ซุปมะเขือเทศเข้มข้น < น้ำมะเขือเทศ < ซอสมะเขือเทศ < มะเขือเทศผง < ผลิตภัณฑ์มะเขือเทศเข้มข้น
จะเห็นได้ว่ามะเขือเทศที่ผ่านกระบวนการและความร้อน จะมีปริมาณของสารไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศสด! – อ้างอิง มหาวิทยาลัยมหิดลเผยวิถีแห่ง “มะเขือเทศและไลโคปีน”
ทำให้เราได้รู้ว่าควรเลือกกินแบบไหนมากกว่ากัน เอ… ถ้ามะเขือเทศควรกินแบบสุก แล้วผักอะไรที่ควรกินแบบดิบๆ จะดีกว่า มีอะไรบ้างล่ะ? หากเพื่อนๆ สงสัย ในบทความนี้เฮียมีคำตอบมาฝากกันครับ
หัวบีต
เพราะถ้าเกิดนำไปทำให้สุกแล้วล่ะก็เจ้าโฟเลตจะถูกทำลายด้วยความร้อนมากกว่า 25% เลยทีเดียว
บล็อกโคลี่
ในบล็อกโคลี่จะมีสารที่ชื่อว่า Myrosinase ซึ่งช่วยดีท็อกซ์ตับได้ ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง แต่หากผ่านความร้อนสารนี้จะมีประสิทธิภาพลดลง
กระเทียม
ในกระเทียมมีสาร Allicin ซึ่งช่วยต่อสู้กับแบคทีเรียร้ายที่เข้าสู่ร่างกายได้เป็นอย่างดี แต่สารนี้จะถูกทำลายไปทันทีหากผ่านความร้อน
หัวหอม
มีสารเดียวกันกับกระเทียมเลยครับ ควรเลือกกินแบบสดๆ มากกว่า
พริกหวาน
วิตามินซีในพริกหวานจะถูกทำลายหายไปแน่นอน หากผ่านความร้อนที่มีมากเกิน 375 องศา ดังนั้น หากอยากได้วิตามินซีจากเจ้าพริกยักษ์นี่ควรเลือกที่ปรุงด้วยไฟอ่อนจะดีกว่า
รู้แบบนี้แล้วก็จะจดลิสต์ไว้เลือกกินแบบสดแทนเพื่อจะได้รับสารอาหารแบบเต็มที่ครับ!