Tag Archives: เลี้ยงเด็ก

อาการข้างเคียงหลังเบบี๋ได้รับวัคซีน พร้อมวิธีบรรเทา

“การฉีดวัคซีน” เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันของตัวเองด้วยเชื้อโรคที่อ่อนแอ หรือบางส่วนของเชื้อโรคมีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ เมื่อได้รับวัคซีนแล้วอาจมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้ เนื่องจากร่างกายมีปฏิกิริยาต่อวัคซีน และนี่คืออาการข้างเคียงหลังเบบี๋ได้รับวัคซีน พร้อมวิธีบรรเทาที่พ่อแม่ต้องรู้

ทำอย่างไรให้เบบี๋ห่างไกล “ไข้เลือดออก”

หน้าฝน เป็นฤดูที่เหมาะสมต่อการเพาะพันธุ์ของยุงลาย จึงเป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างหนัก โดยความรุนแรงของโรคนี้นั้นอันตรายถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ที่น่ากลัวคือ เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี เป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากการเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุด

“ไข้-ไอ-หายใจหวีด” อาการเด่นของ “หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน”

“หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน” แม้ไม่ใช่โรคที่คุ้นหูคุ้นตา แต่สำหรับพ่อแม่มือใหม่ห้ามปล่อยฝ่านเด็ดขาด เพราะโรคนี้พอในเด็กวัยต่ำกว่า 2 ปี โดยเฉพาะเบบี๋วัย 2-6 เดือน เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ทารกน้อยต้องนอนโรงพยาบาล รวมถึงมีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคหอบหืดในอนาคต

4 ไอเท็มเด็ดช่วยให้เบบี๋หลับสบายหายใจไม่ติดขัด

“เด็กวัยทารก” ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่บอบบางและเสี่ยงต่ออาการเจ็บไข้ได้ป่วยได้ง่าย ยิ่งช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เบบี๋มักมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจครืดคราด หายใจไม่สะดวก ไม่อยากให้ลูกน้อยงอแงเพราะอาการหายใจติดขัด ไอเท็มเหล่านี้ช่วยได้

“โรคตาขี้เกียจ” ปล่อยไว้ไม่รักษา อาจถึงขั้นตาบอด

เป็นธรรมดาของคนเป็นพ่อเป็นแม่ที่ย่อมต้องรักและเป็นห่วงลูก โดยเฉพาะเมื่อลูกอยู่ในวัยทารกที่ไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ หากมีอาการเจ็บป่วยย่อมไม่สามารถสื่อสารอาการให้ใคร ๆ เข้าใจได้ จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องหมั่นสังเกตอาการต่าง ๆ ของเบบี๋เพื่อหาทางรักษาก่อนจะสายเกินแก้

หน้ากากอนามัยกันโควิด-19 จำเป็นแค่ไหนกับเบบี๋?

ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 นอกจากกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอดแล้ว ทารกแรกเกิดและเด็กเล็ก ถือเป็นอีกกลุ่มเสี่ยงที่ต้องให้ความสำคัญในการป้องกันเป็นพิเศษ เราทราบกันดีว่าหนึ่งในวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพคือการสวมหน้ากากอนามัย คำถามคือ เบบี๋จำเป็นต้องสวมหน้ากากไหม?   แม้การสวมหน้ากากอนามัยจะเป็นหนึ่งในวิธีการป้องกันตัวเองและช่วยป้องกันไม่ให้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019แพร่กระจายสู่คนอื่นได้ แต่ก็ไม่ใช่กับทุกคน กล่าวคือ ต้องดูสภาพร่างกายของผู้ที่จะสวมใส่ด้วย เนื่องจากบางช่วงอายุระบบต่าง ๆ ในร่างกายอาจจะไม่แข็งแรงพอ ทั้งนี้ ควรเลือกสวมหน้ากากป้องกันให้กับเด็กที่เหมาะสมตามช่วงอายุเมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้าน…

7 step เปลี่ยนผิวแห้งลอกของเบบี๋ให้เนียนนุ่มชุ่มชื่น

พ่อแม่มือใหม่หลายคนมักละเลยการดูแลบำรุงผิวให้เบบี๋เพราะคิดว่าไม่จำเป็น เนื่องจากเป็นวัยที่ไม่ได้ออกไปเผชิญกับมลภาวะหรือใช้เครื่องสำอางเช่นผู้ใหญ่ หารู้ไม่ว่าผิวของทารกนั้นแห้งได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่เสียอีก หากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี ปล่อยให้ผิวขาดการบำรุง อาจทำให้เบบี๋ผิวแห้งหนักจนลอกเป็นขุยได้   7 step เปลี่ยนผิวแห้งลอกของเบบี๋ให้เนียนนุ่มชุ่มชื่น   ไม่ควรอาบน้ำให้เบบี๋บ่อย หรือนานเกินไป แนะนำให้อาบน้ำวันละ 1 ครั้งก็เพียงพอแล้ว   อาบน้ำอุณหภูมิไม่สูงเกินไป เนื่องจากน้ำอุ่นจะชะล้างไขมันธรรมชาติที่เคลือบผิวเด็กออกไป ทำให้ผิวแห้งง่าย…

5 วิธีดูแลก้นเบบี๋ให้สะอาดปราศจากผื่นแพ้

ผิวบริเวณก้นของลูก นับเป็นจุดที่บอบบางอีกหนึ่งจุด จึงเกิดการระคายเคืองได้ง่ายมาก โดยเฉพาะเมื่อต้องสวมผ้าอ้อมตลอดเวลา เจอทั้งการเสียดสี ความอับชื้น และสารเคมีต่าง ๆ รวมถึงการเช็ดถูบ่อย ๆ ดังนั้น ดูแลก้นเบบี๋ให้สะอาดปราศจากผื่นแพ้เป็นเรื่องที่คุณแม่ๆ ต้องใส่ใจ   5 วิธีดูแลก้นเบบี๋ให้สะอาดปราศจากผื่นแพ้และผื่นผ้าอ้อม ผ้าอ้อม – ดูแลผิวก้นทารกน้อยให้แห้งอยู่เสมอ โดยการเปลี่ยนผ้าอ้อมทุก…

เบบี๋มีน้ำตาลในเลือดต่ำ สาเหตุคืออะไร? ป้องกันได้ไหม?

“ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ” เป็นภาวะที่ทารกแรกเกิดมีน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งมีผลต่อระบบร่างกาย ระบบประสาทและสมอง ถือเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด โดยทั่วไปมักพบในทารกที่มารดาเป็นเบาหวาน ทารกที่คลอดก่อนกำหนด และทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ ส่วนสาเหตุคืออะไร และสามารถป้องกันได้ไหม เรามีคำตอบ   สาเหตุหลักของการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารก มีดังนี้ สาเหตุจากมารดา ได้แก่ มารดาเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์, ช่วงตั้งครรภ์มารดาน้ำหนักขึ้นน้อย ส่งผลทำให้ลูกตัวเล็กได้ มีโอกาสเสี่ยงเป็นภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้,…

“โรคไอพีดี” รักษาไม่ทันท่วงทีทำเบบี๋เสียชีวิตได้

โรคไอพีดี เป็นโรคติดเชื้อชนิดรุนแรงในเด็ก สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า นิวโมคอคคัส ที่อาศัยอยู่ในโพรงจมูกและคอ ซึ่งสามารถติดต่อซึ่งกันและกันโดยผ่านการไอ จามหรือสัมผัสสิ่งคัดหลั่ง เหมือนกับการแพร่เชื้อไข้หวัดธรรมดา แต่ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัด และอาจถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุ 2 ปี ยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ ข้อมูลจาก นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ระบุว่า การรักษาโรคไอพีดี…