แชร์ทริคช่วยบูสต์สมองให้พร้อมสำหรับคนทุกวัย

0

ทุก ๆ วัยต่างต้องใช้สมองในการคิดและทำกิจกรรมต่าง ๆ แตกต่างกันออกไปในแต่ละวัย ซึ่งภาวะสมองล้าที่เกิดจากใช้ความคิด หรือใช้งานสมองอย่างหนักเป็นหนึ่งในปัญหาที่ทุกช่วงวัยต้องเจอ บางคนมีปัญหาในด้านความจำ ปัญหาด้านสมาธิ หัวตื้อ เพลีย ล้า ตามมาเป็นต้น ดังนั้นการหันมาบำรุงและบูสต์สมองให้พร้อม จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทุกวัย 

ทริคช่วยบูสต์สมองสำหรับทุกวัย

หลักการบูสต์สมองอย่างง่าย ๆ คือ การเสริมให้สมองสุขภาพดียิ่งขึ้น โดยปกติสมองที่สุขภาพดีนั้นจะต้องได้รับสารอาหารและเลือดไหลเวียนอย่างทั่วถึง ดังนั้นการดูแลสุขภาพสมองจึงมาพร้อมกับการดูแลสุขภาพกายไม่ว่าจะเป็น

  1. การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  2. การออกกำลังกายเพื่อบำรุงหัวใจและหลอดเลือด
  3. การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพไม่เพิ่มน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือดมากเกินไป
  4. การเลือกเสริมสารอาหารบำรุงสมองเป็นประจำทุกวันอย่าง “คาร์โนซีน” ที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองและระบบประสาท

คาร์โนซีนคืออะไร ?

คาร์โนซีน คือโปรตีนไดเปปไทน์ขนาดเล็ก ซึ่งในร่างกายเรามีคาร์โนซีนอยู่แล้ว เพียงแต่สารนี้จะลดลงตามอายุ

เราจึงควรหมั่นเติมคาร์โนซีนเพื่อบูสต์สมองและร่างกายอยู่เสมอ

คาร์โนซีนสามารถพบได้ทั่วไปในเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อไก่ แต่จะไม่พบในพืชผักผลไม้เลย อีกทั้งยังสามารถพบคาร์โนซีนได้ในรูปแบบเข้มข้นจากอาหาร ที่ผ่านการสกัดมาจากเนื้อสัตว์ เช่น ซุปไก่สกัด เนื่องจากความดันและความร้อนช่วยดึงคาร์โนซีนออกมาได้เยอะกว่า และร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ทันที

ความสำคัญของการบูสต์สมองของแต่ละวัย

สมองของคนเราเป็นอวัยวะที่สำคัญและซับซ้อนโดยทำหน้าที่ควบคุมระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบความคิด ความจำ การควบคุมอารมณ์และแสดงอารมณ์ การสัมผัส การพัฒนาทักษะด้านการเคลื่อนไหว การมองเห็น การหายใจ การควบคุมอุณหภูมิ และกระบวนการอื่น ๆ ที่ใช้ในการควบคุมร่างกาย

ในแต่ละช่วงวัย  การใช้สมองจะแตกต่างกันไป ดังนั้นวิธีการบำรุงและเติมพลังสมองให้พร้อมอยู่เสมอนั้นจะขึ้นอยู่กับกิจกรรมการใช้สมองของแต่ละวัยด้วย

วัยเด็ก 0 – 14 ปี  

สมองส่วนรับความรู้สึกมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในวัยเด็ก เมื่อสมองส่วนหนึ่งทำงานจะมีผลต่อการทำงานของสมองอีกส่วนหนึ่งด้วย การพัฒนาสมองในเด็กส่วนที่โดดเด่นจึงเป็นการรับความรู้สึก และพัฒนาประสาทสัมผัสร่วมกับการเคลื่อนไหวจะไปพร้อม ๆ กัน นอกจากนี้ในวัยที่เริ่มเข้าโรงเรียน เด็ก ๆ จะเริ่มพัฒนาการสมองทางด้านความรู้ ความเข้าใจในอารมณ์และสังคม

ในวัยเด็กที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ การบูสต์สมองจึงเป็นเรื่องสำคัญ สามารถทำได้ตั้งแต่การทำกิจกรรมเสริมพัฒนาการที่ฝึกสมอง เช่น

  • การเล่นดนตรี
  • การอ่านหนังสือภาพ นิทาน
  • ฝึกจินตนาการจากของเล่น
  • ออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พร้อมทั้งเสริมอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาร์โนซีน ซึ่งมีความจำเป็นต่อร่างกายและสมองสำหรับเด็กในวัยนี้ ที่จะช่วยเสริมทั้งการเรียนรู้และการพัฒนาของสมอง

วัยเรียน 15 – 22 ปี

เมื่อเข้าสู่วัยเรียน ความเข้มข้นของการเรียน และการสอบจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามระดับการศึกษา วัยนี้จึงเป็นช่วงที่มีการใช้สมองส่วนคิดวิเคราะห์ การใช้ภาษา และคำนวณอย่างจริงจัง  เพราะวัยเรียนต้องอ่านหนังสือ ทำการบ้าน ทำกิจกรรมอยู่ตลอดเวลา

เนื่องจากวัยเรียนเป็นวัยที่ต้องหาความรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ สิ่งที่จะตามมาคือความล้าของสมอง การบูสต์สมองของวัยนี้สามารถทำได้ด้วยการ

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และบำรุงสมองด้วยคาร์โนซีน
  • แบ่งเวลาไปออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อย 3-4 วันต่อสัปดาห์ เช่น การวิ่ง การว่ายน้ำ  การเล่นกีฬาฟุตบอล บาสเกตบอล วอลเลย์บอล แบดมินตัน ฯลฯ เป็นต้น
  • ทำกิจกรรมเสริมอื่นๆที่ช่วยพัฒนาสมอง เช่น เที่ยวพิพิธภัณฑ์ ชมงานศิลปะ ทำงานประดิษฐ์ เรียนดนตรี เรียนภาษาที่สาม เป็นต้น

วัยทำงาน 23 – 44 ปี

เมื่อเข้าสู่วัยทำงาน สมองส่วนต่าง ๆ พัฒนามาอยู่ในจุดที่มีประสิทธิภาพทั้งประสาทสัมผัสในร่างกาย ความคิดวิเคราะห์ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ ความจำ ทักษะ Critical Thinking และ Problem Solving โดยในวัยนี้ต้องใช้ทักษะต่าง ๆ พร้อมกับการคิดงาน ประชุมระดมสมอง เสนอไอเดีย อีกทั้งบางคนยังต้องเผชิญความเครียดทางด้านสุขภาพจิตจากสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพของสมองตามมาได้ เช่น มีอาการปวดหัวไมเกรน มีอาการสมองล้า มีปัญหาเรื่องความจำ สมาธิสั้นขึ้น เป็นต้น 

สุขภาพสมองที่ดีของวัยทำงานควรมาควบคู่กับการรักษาสุขภาพกาย การบูสต์สมองของวัยนี้จึงควรประกอบไปด้วย

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมอง เช่น ปลา เนื้อไก่ และควบคู่ไปกับการเสริมสารคาร์โนซีน
  • ฝึกสมาธิและทำสมาธิเป็นประจำ เช่น การทำสมาธิแบบผ่อนคลาย เพื่อเพิ่มความจดจ่อและลดความเครียด
  • พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้สมองได้พักฟื้นและจัดระบบความคิด
  • ทำกิจกรรมยามว่างเพื่อเพิ่มทักษะการทำงานของสมอง เช่น เขียนบันทึกประจำวัน ฝึกทำอาหารด้วยตัวเอง ฟังพอดแคสต์

วัยผู้ใหญ่และวัยชรา 45 ปี เป็นต้นไป

เมื่อเข้าสู่วัยเลข 4 ร่างกายจะค่อย ๆ เสื่อมถอยตามอายุเป็นธรรมชาติ สมองผ่านการใช้งานมาอย่างหนักหน่วง ทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ได้ ดังนั้นสำหรับวัยสูงอายุจึงจำเป็นต้องเน้นการชะลอความเสื่อมของสมองด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น

  • ออกไปทำกิจกรรมเข้าสังคม
  • ออกกำลังกายกลุ่มที่ช่วยเสริมเรื่องระบบประสาทและสมองอย่างการรำไทเก๊ก
  • อ่านหนังสือ เล่นเกมส์แก้ปัญหา จัดแจกันดอกไม้ เพื่อคอยช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง

ทุกวัยควรเสริมสารคาร์โนซีนอย่างสม่ำเสมอทุกเช้า

ด้วยการใช้ชีวิตแต่ละวัยในปัจจุบันเต็มไปด้วยความเร่งรีบ การเลือกดื่มซุปไก่สกัดเข้มข้นก็เป็นตัวช่วยอีกทางในการช่วยบูสต์สมองทุกเช้าได้แบบง่ายๆ เนื่องจากตอนเช้าเป็นช่วงเวลาที่ร่างการสามารถดูดซึมสารอาหารได้ดี จึงช่วยให้สมองทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ พร้อมทำกิจกรรมต่างๆตลอดทั้งวัน

Reference,

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2560). พัฒนาการสมองของเด็กวัย 3 – 6 ปี. เข้าถึงได้จาก https://www.okmd.or.th/bbl/documents/341/bbl-brain-development-children

ศูนย์อนามัยที่ 5. (2565). กายวิภาคของสมอง และสมองทำงานอย่างไร. เข้าถึงได้จาก https://doh.hpc.go.th/bs/topicDisplay_decode.php?var=4LiB4Liy4Lii4Lin4Li0IzY4NA==

Meijer, A., Königs, M., Vermeulen, G. T., Visscher, C., Bosker, R. J., Hartman, E., & Oosterlaan, J. (2020). The effects of physical activity on brain structure and neurophysiological functioning in children: A systematic review and meta-analysis. Developmental cognitive neuroscience, 45, 100828. https://doi.org/10.1016/j.dcn.2020.100828

Washington Post. (2023). Brain changes linked to aging begin in childhood, new research suggests. The Washington Post. Retrieved from https://www.washingtonpost.com/wellness/2023/02/28/brain-aging-childhood-teens-adults/

Zhang, L., Yao, K., Fan, Y., He, P., Wang, X., Hu, W., & Chen, Z. (2012). Carnosine protects brain microvascular endothelial cells against rotenone-induced oxidative stress injury through histamine H₁ and H₂ receptors in vitro. Clinical and experimental pharmacology & physiology, 39(12), 1019–1025. https://doi.org/10.1111/1440-1681.12019

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *