เพราะอะไร “หวาน 0 แคล” ยังคงไม่เวิร์กกับการลดอ้วน?

0

ในช่วงปีที่ผ่านมา หลายคนตระหนักกับการกินน้ำตาลมากไปนั้นไม่ดีต่อสุขภาพและเรื่องน้ำหนัก โดยก็มีไม่น้อยที่ใช้ทางเลือกกินของหวานจากสารให้ความหวานแทนน้ำตาล อย่างไรก็ตามการวิจัยใหม่พบว่า สารให้ความหวานแทนน้ำตาลสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานและโรคอ้วนได้

why_sweeteners_lead_to_obesity-2

การศึกษาใหม่นี้เป็นการตรวจสอบที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในร่างกายโดยใช้วิธีการที่เรียกว่า “Unbiased high-throughput metabolomics” นักวิจัยยังได้ศึกษาถึงผลกระทบต่อสุขภาพของหลอดเลือดด้วยการศึกษาว่า สารมีผลต่อเยื่อบุของหลอดเลือดอย่างไร การศึกษาได้ดำเนินการในหนูและเซลล์เพาะเลี้ยง

Brian Hoffmann PhD, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ในภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่วิทยาลัยการแพทย์วิสคอนซินและมหาวิทยาลัยมาร์แค็ต ได้กล่าวถึงการศึกษาดังกล่าวว่า…

“แม้ว่าสารให้ความหวานจะไม่มีแคลอรี่ กินเป็นประจำทุกวัน แต่ยังคงมีการเพิ่มขึ้นอย่างมากในโรคอ้วนและโรคเบาหวาน ในการศึกษาของเราทั้งน้ำตาลและสารให้ความหวานเทียมดูเหมือนจะมีผลเสียต่อโรคอ้วนและโรคเบาหวานแม้ว่าจะมีกลไกที่แตกต่างกันออกไป”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Hoffmann ได้นำเสนองานวิจัยที่การประชุมประจำปีของสมาคม  American Physiological Society ในระหว่างการประชุม Biological Experimental Biological ปี พ.ศ. 2561 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-25 เมษายนในซานดิเอโกที่ผ่านมา โดยทีมวิจัยได้ให้อาหารกลุ่มต่างๆ ในหนูที่มีน้ำตาลกลูโคสหรือฟรักโทสสูง (ชนิดของน้ำตาล) หรือแอสพาเทม หรือโพแทสเซียมซัลเฟต หลังจากสามสัปดาห์นักวิจัยเห็นความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในความเข้มข้นของสารชีวเคมีไขมันและกรดอะมิโนในตัวอย่างเลือด

why_sweeteners_lead_to_obesity-1

ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าสารให้ความหวานเทียมเปลี่ยนวิธีที่ร่างกายทำงานของไขมันและการได้รับพลังงาน นอกจากนี้ยังพบว่า แอซีซัลเฟมโพแทสเซียมดูเหมือนจะสะสมในเลือดซึ่งมีความเข้มข้นสูงขึ้นและมีผลต่อเซลล์ที่เป็นเส้นเลือดมากขึ้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Hoffmann ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า

“เราสังเกตเห็นว่า ในปริมาณที่พอเหมาะ ร่างกายของคุณมีกลไกในการจัดการกับน้ำตาล เมื่อระบบทำงานหนักเกินไปในช่วงเวลาอันยาวนานเครื่องจักรก็จะหยุดทำงาน นอกจากนี้เรายังตั้งข้อสังเกตว่าการแทนที่น้ำตาลเหล่านี้ด้วยสารให้ความหวานนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางลบในการเผาผลาญไขมันและพลังงาน”

อย่างไรก็ดี นักวิจัยเตือนว่าผลการวิจัยไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนและมีคำถามที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม เป็นที่ทราบกันดีว่าน้ำตาลสูงในอาหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่เป็นลบและการศึกษาแสดงให้เห็นสารให้ความหวานเทียมด้วยเช่นเดียวกัน โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ Hoffmann ได้กล่าวทิ้งท้ายเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้อย่างน่าสนใจ

“มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างการบอกให้หยุดกินสารให้ความหวานนะ เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพโดยรวมที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานและโรคอ้วน”

หากเพื่อนๆ อยู่ในช่วงลดน้ำหนักก็อาจต้องหลีกเลี่ยงสารให้ความหวานแทนน้ำตาลและลดอาหารที่มีน้ำตาลสูง เพื่อเป้าหมายในการลดน้ำหนัก

ที่มา: Why zero-calorie sweeteners can still lead to diabetes, obesity โดย Experimental Biology 2018, Sciencedaily.com

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *