ระวัง! อาหารไทยจานเด็ด-น้ำจิ้มรสแซ่บโซเดียมสูงปรี๊ด

0

หนึ่งในวิธีดูแลสุขภาพในยุคนี้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ คือ การลดอาหารรสเค็มหรืออาหารที่มีโซเดียมสูง เพราะการรับโซเดียมในปริมาณมากเป็นประจำย่อมส่งผลกระทบต่อการทำงานของไต

ปัญหาก็คือ อาหารไทยที่วางขายตามท้องตลาดหรือร้านค้าต่างๆ มักมีปริมาณโซเดียมสูง!!

“โซเดียม”

คือแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการ และไม่สามารถผลิตได้เอง จึงจำเป็นต้องได้รับโซเดียมจากการอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เพื่อใช้ในกระบวนการต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะเรื่องการรักษาสมดุลน้ำในร่างกายของเรา แต่ต้องเป็นการรับโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสม เพราะการบริโภคโซเดียมมากเกินไปจะส่งผลให้โปรตีนถูกขับออกมาทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น ทำให้การทำงานของไตเสื่อมลง นำไปสู่ความเสี่ยงของโรคต่างๆ เช่น โรคไต ความดันโลหิตสูง กระดูกพรุน มะเร็ง เป็นต้น

ผศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ นักวิชาการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า…

องค์การอนามัยโลกและโคเด็กซ์ กำหนดค่าปริมาณสูงสุดของโซเดียมที่รับได้ และไม่ทำให้เกิดอันตรายไว้ที่ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ขณะที่ประชากรไทยได้รับโซเดียมสูงถึง 4,352 มิลลิกรัมต่อวัน คิดเป็น 2.2 เท่าของปริมาณสูงสุดของโซเดียมที่รับได้และไม่ทำให้เกิดอันตราย

%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%84%e0%b8%97%e0%b8%a2-%e0%b9%82%e0%b8%8b%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a1%e0%b8%aa%e0%b8%b9%e0%b8%87

หน่วยรับรองสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมโภชนาการ สถาบันโภชนาการได้ทำการสำรวจปริมาณโซเดียมในอาหารไทย 11 ชนิดต่อหน่วย พบปริมาณโดยประมาณ ได้แก่

  1. แกงเขียวหวาน 625 มิลลิกรัม
  2. แกงส้ม 850 มิลลิกรัม
  3. แกงเลียง 600 มิลลิกรัม
  4. ต้มข่าไก่ 700 มิลลิกรัม
  5. ต้มยำกุ้ง 1,000 มิลลิกรัม
  6. น้ำพริกกะปิและผัก 650 มิลลิกรัม
  7. น้ำพริกมะขามและผัก 625 มิลลิกรัม
  8. ห่อหมกใบยอ 400 มิลลิกรัม
  9. ผัดเผ็ดปลาดุก 750 มิลลิกรัม
  10. ยำถั่วพู 450 มิลลิกรัม
  11. ทอดมันปลา 650 มิลลิกรัม

และค่าโดยประมาณของปริมาณโซเดียมในน้ำจิ้ม 6 ชนิดต่อ 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 15 กรัม คือ 1. น้ำจิ้มข้าวมันไก่ 332 มิลลิกรัม 2. น้ำจิ้มหมูสะเต๊ะ 139 มิลลิกรัม 3. น้ำจิ้มสุกี้ 277 มิลลิกรัม 4. น้ำจิ้มข้าวหมกไก่ 377 มิลลิกรัม 5. น้ำจิ้มกุยฉ่าย 428 มิลลิกรัม และน้ำราดข้าวหมูแดง 200 มิลลิกรัม

ฉะนั้น ควรทำอาหารกินเอง เพราะสามารถควบคุมปริมาณเกลือได้ พยายามปรุงรสให้น้อย แรกๆ อาจจะรู้สึกว่าจืดชืดไม่อร่อย แต่ต่อไปร่างกายจะปรับตัวได้ ไม่รู้สึกว่าจืด ทั้งยังได้ของแถมเป็นสุขภาพที่ดีด้วยค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *