อย่าเสียดาย..อาหารค้างคืน-ตุ๋นนาน ทำคุณค่าโภชนาการลด

0

การซื้ออาหารสำเร็จรูปหรือปรุงประกอบอาหารในปริมาณที่มาก เมื่อกินไม่หมดคนส่วนใหญ่มักนำไปเก็บไว้ในตู้เย็น แล้วนำไปอุ่นกินในมื้อต่อไป โดยหารู้ไม่ว่าอาหารที่มีการอุ่นบ่อย ๆ หรือต้มตุ๋นเป็นระยะเวลานานเกิน 4 ชั่วโมงขึ้นไปจะมีโอกาสทำให้คุณค่าด้านโภชนาการลดลง

การอุ่นซ้ำบ่อย ๆ หรือต้มตุ๋นนานเกิน 4 ชั่วโมงขึ้นไป จะมีโอกาสทำให้สูญเสียคุณค่าทางอาหาร โดยเฉพาะพวกที่ไม่ทนต่อความร้อน เช่น ในเนื้อหมู มีวิตามินบี 1 และบี 2 มาก เมื่อนำมาทำหมูต้มเค็ม หรือหมูตุ๋น มักทำปริมาณมากและต้มเคี่ยวให้เปื่อยคาหม้อ แบ่งรับประทานเอา ส่วนที่เหลือก็อุ่นทุกวัน การทำเช่นนี้ทำให้วิตามินบี 1 และบี 2 สลายตัวสูญเสียไป

เมื่อโปรตีนจากเนื้อสัตว์ถูกความร้อนจากการเคี่ยว และต้มตุ๋นเป็นเวลานาน เช่น ต้มจับฉ่าย อาหารพวกนี้มีข้อมูลการตรวจพบสารกลุ่มเฮ็ตเตอโรไซคลิกเอมีน (heterocyclic amine) ซึ่งอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ โดยสารพิษนี้พบได้จากการรับประทานอาหารประเภทปิ้งย่างไหม้เกรียม เขม่าดำ เกิดจากความร้อนทำปฏิกิริยาโดยตรงกับไขมันในเนื้อสัตว์ จนทำให้เกิดเป็นควันที่มีพิษ หากรับประทานเข้าไปในปริมาณมากก็จะเกิดการสะสมในร่างกาย จนเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งได้

ข้อแนะนำเมื่อทำอาหารในปริมาณมาก ๆ และรับประทานไม่หมดในครั้งเดียว มีดังนี้

1. เมื่อปรุงอาหารเสร็จ ควรตั้งทิ้งไว้ให้อุณหภูมิลดลงเป็นอุณหภูมิห้อง จากนั้นจะแบ่งเก็บใส่ถุงแถง มัดถุงให้แน่น หรือกล่องมีฝาปิดมิดชิด หรือจะถุงซิปล็อก หรือ ถ้วยที่ห่อพลาสติกใส่อย่างมิดชิด โดยแบ่งตามปริมาณการรับประทานแต่ละครั้ง เมื่อต้องการรับประทานก็นำออกมาอุ่นและบริโภค

2. เมื่อนำอาหารมาอุ่นบริโภค หากมีการตักรับประทานไม่หมด ไม่ควรนำกลับไปเก็บในตู้ใหม่ เพราะการที่ช้อนเราตักบริโภคแต่ละครั้งทำให้อาหารส่วนนั้นมีโอกาสปนเปื้อนจุลินทรีย์ จึงควรรับประทานให้หมดเป็นส่วน ๆ ไป จะเป็นการถนอมอาหารให้สามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน ยิ่งถ้าแช่ในช่องแช่แข็ง ยิ่งทำให้ถนอมอาหารได้นานกว่าช่องธรรมดา

สำหรับอาหารประเภทผักสด ผัดผัก ผักลวก นึ่ง ต้ม ไม่ควรเก็บไว้กินในมื้อต่อไป เพราะจะทำให้คุณค่าทางโภชนาการของผักลดลง หากมีการเก็บรักษาไม่ดีพอ อุณหภูมิในการเก็บไม่เหมาะสม จุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนระหว่างเก็บก็จะทำให้ท้องเสียได้ การกินเนื้อแดงมาก ๆ จะมีแนวโน้มทำให้การกินผักและผลไม้ลดลง ทำให้ป้องกันเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายไปจากกระบวนการ oxidation หรือการเกิดอนุมูลอิสระ เมื่อเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งบางชนิด

ดังนั้น จึงควรรับประทานผักสดเป็นประจำ อย่างน้อยมื้อละ 2 ทัพพี เพราะในผักมีวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อร่างกาย อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจในการรับประทานผักสดคือ ต้องเป็นผักปลอดสารพิษและล้างให้สะอาด ในส่วนของเมนูผักสด ผัดผัก ผักลวก นึ่ง ต้ม ถ้าเหลือแล้วนำไปเก็บไว้รับประทานมื้อต่อไป คุณค่าทางโภชนาการจะลดลง หากเก็บรักษาไม่ดีพอ จุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในระหว่างเก็บก็จะทำให้ท้องเสียได้ ส่วนการกินอาหารประเภทกะทิค้างคืนที่มีส่วนประกอบเป็นเนื้อสัตว์ หากเก็บรักษาไม่ดีพอ หรืออุ่นร้อนไม่ทั่วถึง อาจทำให้เน่าเสียได้

เพื่อสุขภาพที่ดี ได้รับสารอาหารครบถ้วน ควรปรุงอาหารแต่พอกินในแต่ะละมื้อ เพราะอาหารที่ปรุงสุกใหม่ คุณค่าทางโภชนาการจะมีมากกว่าอาหารที่ผ่านการอุ่นหลาย ๆ ครั้ง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *