ย้ำ! เริ่มออกกำลังกายช่วง Work from Home ต้องทำอย่างไร แบบง่ายที่สุด

0

เหนื่อยหน่ายทางใจ? การออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างการวิ่งอาจช่วยให้สมองของคุณฟื้นตัวได้ จริงหรือ?

ความเครียด การทำงานมากเกินไป และตารางงานที่แน่นหนามากล้วนมีส่วนทำให้เกิดความเหนื่อยล้าที่มากเกินไป ทำให้คุณรู้สึกหมดแรงทางอารมณ์และรู้สึกทุกอย่างดูเยอะเกินกว่าจะแบกได้ง่าย บางคนก็หมดแรงจะทำอะไรไปอย่างดื้อๆ เหล่านี่คือความอ่อนล้าทางจิตใจ ซึ่งเป็นภาวะที่อาจนำไปสู่อาการหมดไฟหรือที่เราอาจคุ้นๆ ที่เขาพูดกันว่า “เบิร์นเอาท์” ได้ หากอาการเรื้อรังเกิดขึ้น และในทางกลับกัน ทำให้คุณมีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น โรคเบาหวานและโรคหัวใจ ซึ่งไม่คูลทั้งจิตใจและสุขภาพเงินในกระเป๋าด้วย

การศึกษาใหม่ในวารสาร Physiology & Behavior พบว่า กลยุทธ์ที่ต้องอาศัยการฟุ้งซ่าน เช่น การดูทีวี ไม่ได้ผล แต่ปรากฏว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพียงครั้งเดียวสามารถช่วยได้อย่างจริงจัง

ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกในระดับปานกลางช่วยให้มีความยืดหยุ่นในการรับรู้ได้ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษากลุ่มควบคุมแบบแอคทีฟ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับปานกลางยังมีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาแบบพาสซีฟด้วย1

นักวิจัยขอให้ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี 99 คนทำการทดสอบความรู้ความเข้าใจเป็นเวลา 60 นาทีเพื่อกระตุ้นให้เกิดความอ่อนล้าทางจิตใจ จากนั้นพวกเขาแบ่งผู้เข้าร่วมการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม

  1. ออกกำลังกายปานกลาง 30 นาทีบนจักรยานอยู่กับที่
  2. ทำกิจวัตรง่ายๆ ยืดร่างกายส่วนล่าง 30 นาที
  3. ดูซิทคอม 30 นาที

หลังจากผ่านไปครึ่งชั่วโมง ทุกคนจะได้รับการประเมินอารมณ์ ความเหนื่อยล้า ความกระสับกระส่าย ความสามารถในการรับรู้ด้วยตนเอง แรงจูงใจ และประสิทธิภาพความยืดหยุ่นในการรับรู้ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มออกกำลังกายมีการฟื้นตัวที่ดีขึ้นอย่างมากในหลายๆ ด้านเหล่านี้ รวมถึงอารมณ์และความยืดหยุ่นในการรับรู้

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่การออกกำลังแบบแอโรบิกระดับความเข้มข้นปานกลางได้รับการวินิจฉัยว่าเกี่ยวข้องกับการพักผ่อนทางจิตใจ การศึกษาเล็กๆ ก่อนหน้านี้ซึ่งใช้เวลาออกกำลังกาย 30 นาทีด้วย พบว่ามีการปรับปรุงด้านความจำ การให้เหตุผล และการจัดระเบียบด้วยเหมือนกัน2

ดังนั้น หากการ WFH ทำคุณเบื่อและเบิร์นเอาท์กับทุกอย่างในชีวิต ลองหันมาทดลองออกกำลังกายด้วยการวิ่งวันละ 20-45 นาทีดูดีไหม? มันไม่ใช่แค่เรื่องสุขภาพแบบฟิสิคัลแต่ยังรวมไปถึงเมนทัล หรือจิตใจที่จะดีขึ้นด้วยนะ

อ้างอิง 1, https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34516957/

อ้างอิง 2, https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24179888/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *