รับมืออย่างไร หากเรามี “พฤติกรรมการกินผิดปกติ”

0

จากที่สดสวยเคยนำเสนอบทความ “EATING DISORDER “โรคกินผิดปกติ” เช็คหน่อยเป็นอยู่หรือเปล่า?” ก็ทำให้ทุกคนมองเห็นภาพของกลุ่มคนที่เป็นโรคนี้ไปแล้ว ทีนี้มาลองสังเกตดูว่า “คนใกล้ตัว” หรือแม้แต่ตัวเพื่อนๆ เองกำลังประสบปัญหานี้อยู่หรือไม่?

แล้วถ้ามีคนใกล้ตัวเราเป็นจะสามารถรับมือกับอาการนี้ได้อย่างไรบ้าง?

eatingdis (1)

หากคุณมีคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคนี้ สิ่งที่ควรทำคือหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ให้มากที่สุด เพราะจะทำให้คุณเข้าใจว่าต้องรับมือกับอาการเหล่านั้นอย่างไร พยายามช่วยคนเหล่านั้นด้วยการแสดงออกให้รู้ว่าคุณรักเขา เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้หลาย ๆ กรณีเกิดจากการขาดความมั่นใจในตนเองและขาดความรัก

เพราะฉะนั้นคนในครอบครัวจึงเป็นกำลังใจสำคัญที่จะทำให้เขาเหล่านั้นหายป่วยได้ พยายามสร้างความมั่นใจให้พวกเขา อย่างเช่นชื่นชมความสำเร็จในสิ่งที่พวกเขาทำ พยายามหลีกเลี่ยงการพูดถึงปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวหรือการลดความอ้วนให้เขาได้ยิน และทำตัวเป็นแบบอย่าง ที่ดีในเรื่องการรับประทานอาหารที่สำคัญหมั่นกระตุ้นให้ผู้ป่วยเห็นข้อดีของการมีสุขภาพดีด้วยการออกกำลังไม่ใช่ใช้วิธีการกินที่ผิดปกติเช่นนี้

แล้วถ้าเราเป็นเองล่ะ? การรับมือเบื้องต้นกับโรคนี้ควรทำอย่างไร

หากคุณเริ่มรู้สึกว่าตนเองมีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ หรือเริ่มหมกมุ่นกับเรื่องน้ำหนักตัวมากเกินไป นั่นอาจเป็นสัญญาณเบื้องต้นถึงโรคการกิน ผิดปกติที่กำลังจะตามมา เพราะฉะนั้นพยายามเพิ่มความมั่นใจในตนเองให้มาก ลองหากิจกรรมที่ชอบทำ หากสิ่งที่เบี่ยงเบนความสนใจคุณจากเรื่องการกินบ้าง

นอกจากนั้น ควรหาเพื่อนคุยหรือปรึกษาที่ไว้ใจได้ อย่าอยู่คนเดียวเพราะจะยิ่งทำให้พฤติกรรมการกินของคุณแย่ลง มองดูตนเองในกระจกและหาข้อดีในตัวเองให้เจอ รักตัวเองให้มากและบอกรักกับคนที่คุณรัก เช่น พ่อ แม่ เพื่อน หรือแฟน พยายามหากิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัว เช่น เล่นเกมหรือดูทีวี จะได้ช่วยหันเหความสนใจจากการออกกำลังกายอย่างหักโหมเพื่อกำจัดแคลอรี่ที่รับเข้าไป

วิธีแก้กับเคล็ดลับการจัดมื้ออาหาร

eatingdis (2)

  • ให้รับประทานอาหารอย่างสม่ำเสมอและเป็นเวลา หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารแบบมื้อสุดท้าย คือรับประทานเยอะ ๆ มื้อเดียวแล้วอดหลาย ๆ มื้อ การทำเช่นนี้ไม่ดีต่อสุขภาพแน่นอน อย่าอดอาหารมื้อใด ๆ ก็ตามเพื่อเป็นการแก้ตัวที่คุณรับประทานอาหารมื้อก่อนหน้านั้นมากเกินไป ขอให้รักษารูปแบบการรับประทานอาหารให้ปกติและสม่ำเสมอเข้าไว้
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารแคลอรี่ต่ำ หรืออาหารลดน้ำหนัก หรือถ้าให้ดี อย่าซื้ออาหารเหล่านั้นมาไว้ที่บ้าน
  • อย่าเพิ่งหมดหวังหากการรับประทานอาหารยังไม่เป็นปกติ

เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่า

อาชีพบางอาชีพนั้นเสี่ยงต่อการเกิดโรคการกินผิดปกติ เช่น นางแบบ นักบัลเลต์ นักยิมนาสติก หรืออาชีพที่ต้องโชว์ รูปร่างและสัดส่วน นอกจากนั้นจากการศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคนี้ราวร้อยละ 5 ซึ่งผู้หญิงมักเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย!

eatingdis (3)

ที่มา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *