อ้วนลงพุงอันตรายกว่าที่คิด!!

0

อ้วนลงพุงอันตรายกว่าที่คิด!!

fat

แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะรู้ถึงอันตรายจากการมีน้ำหนักตัวมากเกินไป แต่รู้หรือไม่ว่าไขมันที่พอกอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนั้นมีอันตรายมากกว่าที่เราคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันที่สะสมอยู่บริเวณช่วงท้อง

ไขมันช่องท้องอันตรายกว่าที่คิด!!

ผลการวิจัยพบว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ แต่มีไขมันหน้าท้องมาก มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ มากกว่าคนอ้วนซะอีก ผลวิจัยนี้ถูกนำเสนอใน European Society of Cardiology เมื่อปี 2012 โดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยกว่า 12,785 คนตลอดระยะเวลา 14 ปี คำนวณหาดัชนีมวลกายหรือค่า BMI ซึ่งเป็นอัตราของไขมันในร่างกายต่อความสูง และอัตราส่วนของเอวต่อสะโพกเพื่อหาอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ โดยจากผลการศึกษาพบว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ แต่มีขนาดรอบเอวมาก มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ มากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติและขนาดรอบเอวปกติถึง 2.1 เท่า ซึ่งอันตรายและโรคที่มาพร้อมกับไขมันในช่องท้องมีไม่น้อย ตามนี้…

การทำงานของหลอดเลือดผิดปกติ

ผลการศึกษาเมื่อปี 2012 พบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่อ้วนลงพุงกับภาวะการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตันและภาวะหลอดเลือดแข็งตัว โดยนักวิจัยได้เปรียบเทียบระหว่างคนอ้วน คนอ้วนที่มีพุง และคนที่สุขภาพดีพบว่า หากอัตราส่วนของเอวต่อความสูงเพิ่มขึ้นทุก ๆ 0.1 ก็เสี่ยงที่จะเกิดภาวะดังกล่าวมากขึ้น ฉะนั้น ผู้ที่มีไขมันส่วนเกินบริเวณหน้าท้องจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะดังกล่าว และการที่เส้นเลือดแดงแข็งตัวและตีบนั้นก็จะก่อให้เกิดโรคหัวใจตามมาได้

เพิ่มระดับความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์

ผลการศึกษาในปี 2010 พบว่ายิ่งรอบเอวคุณหนามากเท่าไหร่ก็ยิ่งเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์มากยิ่งขึ้นเท่านั้น  โดยจาการศึกษาพบว่าผู้ที่อ้วนลงพุงเซลล์สมองจะน้อยกว่าคนปกติ  ซึ่งก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ตามมาได้  โดยสาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าไขมันจะไปอุดตันในเส้นเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนขึ้นไปเลี้ยงเซลล์สมองไม่สะดวก จึงทำให้สมองขาดออกซิเจนและทำให้เซลล์ตายนั่นเอง

ปอดทำงานได้ไม่เต็มที่

เมื่อเร็ว ๆ นี้มีผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่อ้วนลงพุงนั้นจะทำให้เกิดการทำงานของปอดลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่มีสุขภาพดี ไม่สูบบุหรี่ และไม่มีไขมันหน้าท้อง ผลการวิจัยนี้พบว่าผู้ที่มีไขมันส่วนกินทำให้อัตราการหายใจลดลง ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นเป็นเวลานานจะทำให้ทางเดินหายใจหดแคบลง และก่อให้เกิดโรคปอดเรื้อรังอย่างหอบหืดตามมาได้

ระดับคอเลสเตอรอลสูง

ไขมันที่อยู่บริเวณขาหรือก้นนั้นเป็นไขมันที่มีการเผาผลาญที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าไขมันหน้าท้อง เนื่องจากระดับน้ำตาล ไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และอินซูลินต่ำกว่าไขมันที่เผาผลาญจากบริเวณช่องท้อง นอกจากนั้นไขมันในช่องท้องสามารถเปลี่ยนเป็นกรดไขมันอิสระ ส่งผลให้ร่างกายผลิตคอเลสเตอรอล LDL (ซึ่งเป็นไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพ) แล้วกรดไขมันอิสระยังทำให้ระดับของไขมันดีหรือคอเลสเตอรอล HDL ลดลง ซึ่งไขมันเหลานี้ไม่เพียงส่งผลต่อการทำงานของหลอดเลือดแต่ยังทำให้เกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และภาวะหัวใจวายตามมาได้

เสี่ยงต่อเบาหวาน

ไขมันในช่องท้องเป็นไขมันที่พบในคนที่มีภาวะอ้วนลงพุง ไขมันนี้มีการผลิตฮอร์โมนซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกายและนอกจากนี้ฮอร์โมนดังกลาวยังทำให้ตัวรับสัญญาณอินซูลินทำงานผิดปกติ หมายความว่าอินซูลินซึ่งเป็นตัวควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายจะทำงานด้อยลง จึงทำให้เกิดโรคเบาหวานตามมานั่นเอง

วิธีรับมือกับไขมันช่องท้อง

การกินอาหารนั้นส่งต่อระดับไขมันในร่างกาย นอกจากนั้นพันธุกรรมก็ส่งผลต่อความอ้วนด้วยเช่นกัน ซึ่งหากคุณอ้วนลงพุง อยากลดน้ำหนักเพื่อให้สุขภาพดีและลดอาการเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ผู้เชี่ยวชาญแนะว่าต้องออกกำลังกายเพื่อกำจัดไขมันในช่องท้อง และเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ก็ช่วยได้ ลองหาเวลาออกกำลังสักวันละ 1/2 หรือ 1 ชั่วโมงเป็นประจำ เพียงเท่านี้ไขมันรอบเอวก็จะลดลงได้

จะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองจัดอยู่ในภาวะ “อ้วน” หรือไม่

หากคุณเป็นคนผอมหรือนน้ำหนักตัวปกติก็อย่าได้ชะล่าใจว่าคุณจะมีไขมันน้อยตามไปด้วย ฉะนั้น หากอยากรู้ว่าตนเองอ้วนหรือไม่ ลองหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Inder : BMI) เพื่อประเมินภาวะอ้วนหรือผม โดยมีสูตร BMI = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม/ความสูง(เมตร)2 จากนั้น นำค่าที่ได้มาเทียบกับเกณฑ์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *