แก่เก๋าไม่เก่าเก็บ! อาหนิง นิรุตติ์เผยวิถีสุขภาพสมองดีในงานรณรงค์ป้องกันภาวะโรคสมองเสื่อม รพ.พญาไท 2

0

“แก่เก๋าไม่เก่าเก็บ” “อาหนิง นิรุตติ์” เผยวิถีสุขภาพสมองดีวัยซีเนียร์

การเสวนาสุขภาพกับแพทย์ ในงานรณรงค์ป้องกัน ภาวะโรคสมองเสื่อม รพ.พญาไท 2

 003

โรงพยาบาลพญาไท 2 ตอบแทนสังคม ด้วยการรณรงค์ให้สังคมมีสุขภาพดีตามเป้าหมายระยะยาว “ไม่อยากให้ใครป่วย มาโรงพยาบาล” ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่แข็งแรง  ดูแลผู้สูงอายุ ที่ยังไม่ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีคุณค่าต่อสังคม  ร่วมกับกรมกิจการผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมรณรงค์ “ป้องกัน ภาวะโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ” ประเมินความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์แก่บุคคลทั่วไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ โดยมี หนิง นิรุตติ์ ศิริจรรยา ร่วมเสวนาสุขภาพ

001

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์มีมากขึ้น ทำให้ประชากรในประเทศไทย โดยเฉลี่ย มีช่วงอายุยืนยาว ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2548 ข้อมูลจากระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ภายในปี 2568 ขณะเดียวกัน… คนสูงอายุ ก็เป็นกลุ่มที่มีโรครุมเร้ามาก ซึ่งพบว่า “ภาวะสมองเสื่อม” เป็นหนึ่งในโรคที่เกิด ในผู้สูงอายุมากขึ้น โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นในกลุ่มช่วงอายุ 65-69 ปี ประมาณร้อยละ 3-5  สถิติปี 2558 มีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ประมาณ 600,000 คน และคาดว่าในปี  2573 จำนวนจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1,117,000 คน

cafe-569349_960_720

พญ.สิรารัตน์ โมรรัต กล่าวว่า ภาวะสมองเสื่อมแบ่งได้เป็นสองประเภท ได้แก่ โรคสมองเสื่อมที่รักษาให้หายขาดได้ และโรคสมองเสื่อมที่รักษาไม่หายขาด ซึ่งมีสาเหตุแตกต่าง กันออกไป “ภาวะสมองเสื่อมชนิดที่รักษาได้นั้น ส่วนมากมาจากโรคทางกายซึ่งหลายครั้ง เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เช่น กลุ่มที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบตัน (Vascular dementia) ซึ่งมีสาเหตุจากความดันโลหิตสูง ไขมันหรือน้ำตาลในเลือดสูง สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถรักษาได้ โดยการรับประทานยาควบคู่ ไปกับการควบคุมอาหาร และดูแลร่างกายให้แข็งแรงด้วยการ ออกกำลังกาย อาการคล้ายโรคสมองเสื่อมก็จะดีขึ้นหรือหายไป

พญ.สิรารัตน์ โมรรัต แนะแนวหนทาง ร่วมกันกับ “อาหนิง นิรุตติ์” ดังนี้

แก่เก๋าไม่เก่าเก็บ: วิถีป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคสมองเสื่อม

women-2294648_960_720

  1. ดูแลสุขภาพได้ตั้งแต่ในเด็ก สามารถเริ่มต้นได้ที่ตัวเราหันมาใส่ใจ ในการดูแลสุขภาพได้ตั้งแต่ในช่วงวัยรุ่น “เราจำเป็นต้องมีวินัยในการใช้ชีวิต รู้จักเข้มงวดและผ่อนปรน ฝึกฝนตัวเองในการดูแลสุขภาพ ร่างกาย จิตใจ อารมณ์เสมอ”
  2. ปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต บริหาร สมองด้วยการอ่านหนังสือ หรือเล่นเกม ที่อาศัยการคิดคำนวณ พูดคุยเข้าสังคม “การติดอยู่แต่ในอดีต คิดถึงแต่ความสำเร็จหรือความเศร้าใจของเมื่อวานนั้นสะท้อนว่าเราไม่ไปข้างหน้า สมองก็หยุดอยู่ตรงนั้น ไม่ได้ออกกำลังความคิด ควรทำอะไรด้วยการวางแผนเสมอ ผมเองก่อนออกจากบ้าน ต้องทราบแล้ว เสื้อผ้าวางตรงนี้ เราจะอาบน้ำแต่งตัวนะ แล้วหยิบอะไรตรงไหน ออกไปกี่โมง เดินทางเส้นไหน แล้วทำอะไรบ้าง เพราะการวางแผนทำให้เราคิดถึงข้างหน้า และบริหารสมอง ไม่ให้ฝ่อ ไม่ให้หลงให้ลืม เพิ่มเติมการนวดศีรษะด้วยการสระผมไว้ด้วย ผมว่ามันช่วยกระตุ้นและผ่อนคลายสมองไปพร้อมๆ กัน”
  3. ดูแลสุขภาพจิตให้ดี คิดบวก ไม่เครียด “อย่าคิดซ้ำๆ อย่าทำอะไรจำเจ เพราะคนที่ทำอย่างนั้น มันไม่มีสิ่งใหม่ๆ เข้าหัว และคิดตัดสินใจอย่างคนที่ผ่านโลกมาเยอะแล้ว อย่าเครียด หากิจกรรมทำ อย่าหยุดนิ่งไปกับวัยชรา”
  4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะมีผลต่อสมอง ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ “การกินการดื่ม หรือการบริโภคเนี่ย สำคัญมาก เพราะมันส่งผลกับเราโดยตรงทุกช่วงวัย สะสมมา อาหารดีมีประโยชน์ก็บำรุงร่างกายถูกต้อง เราเลือกกันได้ แต่ภาชนะ หรือวัสดุที่ใช้กันล่ะ ต้องดูให้ดีว่าได้มาตรฐานและถูกความร้อน ความเย็น ฯลฯ ใช้อย่างไรจึงจะปล่อยภัย เพิ่มเติมการออกกำลังกายตามวัยควบคู่กันไปไม่ให้ขาดครับ”
  5. ควรเช็คสุขภาพเป็นประจำ สำหรับคนที่เป็นความดัน เบาหวาน ควรรักษาอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีปัญหาด้านความจำ ให้พบประสาทแพทย์ จิตแพทย์  หรือเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างตรงจุด “อย่าทำตัวเป็นหมอเสียเอง วินิจฉัยตนเองว่าคงเป็นอันนั้นเป็นอันนี้ หรือไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวก็ให้ ปล่อยไปจนเป็นหนัก ก็จะสาย ควรให้แพทย์ ให้โรงพยาบาลเป็นคนบอกเรา”

อาหนิงทิ้งท้ายว่า “กินให้ดีพอ นอนให้เพียงพอ อย่ามองข้ามการออกกำลังกาย และ อย่ากลัวเจอหมอ อย่ากลัวโรงพยาบาล เพราะเราไม่อาจเข้าใจทุกอย่างในร่างกายทุกประการ ฉะนั้นมาควรมาตรวจร่างกายเป็นประจำทุกๆ ปี”

โรงพยาบาลพญาไท 2 ซึ่งมีหน่วยงานในการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์โดยเฉพาะ คือ
(ศูนย์รักษาความจำเสื่อม
Memory Clinic) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการป้องกัน
โรคอัลไซเมอร์
ซึ่งเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การตรวจพบในระยะเริ่มต้น จะช่วย ชะลอความเสื่อมของสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โรงพยาบาลพญาไท 2 จัดกิจกรรมตรวจประเมินความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์แก่บุคคลทั่วไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทุกวันพุธและวันศุกร์ เวลา 13.00-15.00น. ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2560  สอบถามรายละเอียดและนัดหมายการตรวจได้ที่ Call Center 1772

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *