Infographic ที่จะทำให้คุณเข้าใจพฤติกรรมการใช้ ‘ดีไวซ์’ ของเจ้าตัวน้อย

0

kidsdevice1

คุณพ่อคุณแม่ลองย้อนกลับไปสมัยที่ยังเป็นเด็กเวลาว่างเราเล่นอะไรกันบ้าง ส่วนใหญ่ก็ใช้เวลาเอาท์ดอร์ออกไปเล่นนอกบ้านเสียส่วนมาก หรือบางคนอาจจะไม่ชอบเล่นข้างนอกก็อาจจะหากิจกรรมอื่นๆ ทำในบ้าน เช่น เล่นเกมตัวต่อ อ่านหนังสือ หรือทำงานประดิษฐ์ ฯลฯ ซึ่งต่างจากยุคสมัยนี้ ที่เด็กมักใช้เวลาว่างไปกับเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น มือถือ, แท็บลอยด์, หรือเกมส์ ต่างๆ ซึ่งก็มีมากมายให้เลือกเสียเหลือเกิน ดังนั้น จึงแทบจะกลายเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้วที่เด็กๆ จะมีทักษะการใช้ดีไวซ์เหล่านี้มากกว่าในยุคเรา

แต่การที่เราจะปล่อยให้เด็กๆ ใช้ดีไวซ์เหล่านี้ไปตลอดเวลา ก็คงไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่เพราะจะกลายเป็นโรคติดเกมส์ ติดแท็บเล็ต จนไม่สนใจโลกภายนอก อีกทั้งจะส่งผลต่อสุขภาพด้วย เช่น ตาที่ต้องจ้องมองจอนานๆ ก็จะเป็นอันตราย หรือเด็กบางคนติดเกมส์จนอั้นปัสสาวะก็จะทำให้เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ถึงขั้นนั้นได้

kidsdevice2

จาก Infographic ด้านบนคือผลการสำรวจจากกลุ่มผู้ปกครองทั้งในสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ทั้งหมดมากกว่า 2,500 คน ที่มีลูกอายุระหว่าง 3-8 ปี จะเห็นตัวเลขที่น่าตกใจของเด็กๆ ที่ใช้ดีไวซ์จำนวนมาก โดย 14% เด็กๆ มีดีไวซ์เป็นของตัวเอง

นอกจากนี้ ยังแสดงถึงช่วงเวลาในการใช้ดีไวซ์ ซึ่งน่าตกใจมากเช่นกัน โดยพบว่าเด็กที่เล่นนานกว่า 1 ชั่วโมงมีมากกว่า 40%

kidsdevice4

ข้อมูลเพิ่มเติมจากการศึกษา

  • 98% พ่อแม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะปล่อยเด็กๆ ให้ใช้ดีไวซ์ โดยประเทศที่มีตัวเลขสูงสุดได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ แต่เป็นการใช้ดีไวซ์ร่วมกับพ่อแม่
  • พ่อแม่ส่วนใหญ่อนุญาตให้ลูกเล่นดีไวซ์ได้ โดยวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเป็นอันดับแรก ส่วนอันดับรองๆ ได้แก่ เพื่อให้รู้จักการใช้เทคโนโลยี และเพื่อให้อยู่นิ่งๆ
  • แม้ว่าพ่อแม่ต้องการให้ลูกใช้ดีไวซ์เพื่อการศึกษา แต่เด็กส่วนใหญ่ก็ยังคงใช้เพื่อความบันเทิง และใช้เวลากับมันมากกว่า 1 ชั่วโมงด้วย
  • พ่อแม่กังวลเกี่ยวกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม และการติดดีไวซ์มากเกินไป รวมทั้งปัญหาสุขภาพด้วยkidsdevice5

คำแนะนำ

จากปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมา ทำให้พ่อแม่ต้องเข้ามาควบคุมการใช้ดีไวซ์ หรือมอนิเตอร์การใช้ดีไวซ์ของลูกๆ ให้มีคุณภาพ ตัวอย่างหนึ่งของการดูแล เช่น จำกัดเวลาในการเล่น ป้องกันแอพฯ ที่ไม่เหมาะสม หรือแอพฯ ที่จะต้องเสียเงินซื้อ เป็นต้น

kidsdevice3

เพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้น หากพ่อแม่ตระหนักทั้งข้อดีและข้อเสียของการใช้ดีไวซ์ เรามี Infographic ที่จะช่วยในการแบ่งคอนเทนต์ในดีไวซ์ได้ ซึ่งอธิบายถึงตามสิ่งที่คาดหวังกับในความเป็นจริงให้เกิดภาพชัดเจนขึ้น

kidsdevice6

จากภาพด้านบนก็จะทำให้เราได้เข้าใจได้มากขึ้นว่า เด็กๆ ยังคงได้เรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จากดีไวซ์ ในขณะเดียวกันเขาก็ยังคงสามารถเล่นเกมส์และใช้งานเพื่อความบันเทิงตามความเหมะสมได้อยู่ ซึ่งน่าจะทำให้คุณพ่อคุณแม่สบายใจได้มากขึ้นว่า การที่เรายื่นเทคโนโลยีให้ลูกนั้น ไม่ได้เป็นภัยร้ายไปเสียทั้งหมด.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *