แบบทดสอบ “การจัดการความเครียดของครอบครัว”

0

ในสังคมปัจจุบันนี้อาจมีเหตุและปัจจัยมากมายที่กระตุ้นให้เราเกิด “ความเครียด”  เมื่อเราหลีกเลี่ยงจากความเครียดไม่ได้  เราอาจจะต้องประเมินดูศักยภาพของครอบครัวกับการเผชิญความเครียด เพื่อจะวางแผนเพิ่มปัจจัยที่ช่วยให้ครอบครัว ดูแลความเครียดจากภายนอกที่เข้ามากระทบความเป็นครอบครัวได้ดีขึ้น

หัวข้อที่ควรประเมินตนเอง

ในแต่ละข้อที่ประเมินเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาให้เป็นครอบครัวปลอดความเครียด ซึ่งไม่ได้หมายความว่าไม่เครียด ถ้าดูตามความหมายจะรู้ว่าเมื่อเกิดความเครียดขึ้น ต้องสามารถปรับตัวเผชิญกับความเครียดให้ได้

Close-up feet on young family in the pool

เริ่มจากข้อหนึ่งที่ต้องยอมรับว่าอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบกับครอบครัว เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ครอบครัวจะพยายามปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงแทนที่จะจมอยู่ในความคิดว่าไม่น่าเกิดขึ้น  และหาทางออกด้วยการเข้าถึงแหล่งข้อมูล แหล่งให้คำแนะนำ ถ้าจำเป็นก็ยอมที่จะเข้าไปใช้บริการ หรือสามารถเข้าให้ถึงบริการที่จำเป็นของครอบครัว ครอบครัวก็จะปรับตัวสู่จุดที่สมดุลใหม่

  • สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้
  • พยายามเปลี่ยนแปลงเมื่อมีสถานการณ์ที่จำเป็น
  • ถ้ามีความกดดัน รู้ว่าจะขอคำแนะนำได้จากที่ไหน
  • เข้าถึงบริการที่จำเป็นสำหรับครอบครัว
  • ดูแลเมื่อสมาชิกในครอบครัวตกอยู่ในสถานการณ์ที่กดดัน
  • พยายามจะเปลี่ยนแปลงวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหาให้ดีขึ้น
  • มีกิจกรรมเพื่อการผ่อนคลายความตึงเครียด
  • ไม่ใช้ความรุนแรงเมื่อตกอยู่ในความกดดัน
  • มีเพื่อนหรือคนใกล้ชิดของครอบครัว
  • ครอบครัวมีการบริหารจัดการเวลาครอบครัว

ลองประเมินจากแบบทดสอบในแต่ละข้อดูนะคะว่า ให้คะแนนครอบครัวอยู่ในกลุ่มศักยภาพต่ำหรือศักยภาพสูง ถ้าผ่านทุกข้ออย่างมั่นใจ ก็ฉลองกันได้เลย แต่ถ้าอยู่ในกลุ่มที่ไม่ค่อยแน่ใจ คงต้องใช้เวลาพูดคุยกันว่าเรามีอะไรที่น่าจะทำเพื่อครอบครัวของเราอีกบ้าง  เพราะครอบครัวจะเป็นพื้นที่ที่สำหรับการเอาใจใส่ดูแลซึ่งกันและกัน

หากสมาชิกในครอบครัวเกิดความเครียดขึ้น ในภาวะวิกฤต การร่วมกันของทุกคนในครอบครัวก็จะเป็นพลังให้ผ่านวิกฤตไปได้ โดยไม่ต้องรอพึ่งความช่วยเหลือจากภายนอกมากเกินไป ถ้าช่วยกันแก้ไขปัญหาแล้วไม่ดีขึ้น สามารถเปลี่ยนวิธีใหม่ๆ โดยยึดประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับครอบครัว ในทุกวันมีกิจกรรมของครอบครัวที่ทำให้ทุกคนได้มาผ่อนคลาย จากความตึงเครียดนอกบ้าน

สุดท้ายอยู่ที่ทุกคนให้ความสำคัญกับความเป็นครอบครัว สามารถบริหารเวลาให้เกิดเวลาของครอบครัวเสมอ เวลาที่จะพูดคุย แลกเปลี่ยน ปลอบโยน ให้กำลังใจกัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *