“วัคซีนใจ” ลดความเสี่ยงฆ่าตัวตายในช่วงโควิด-19

0

แม้ว่าสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในบ้านเราจะดีขึ้นในแง่ของจำนวนผู้ติดเชื้อที่มีจำนวนลดลง แต่ในส่วนของผลกระทบของการระบาดนี้ก็ยังคงน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะผลกระทบทางสุขภาพจิต ไม่อยากสูญเสียคนใกล้ตัว แนะนำให้เพิ่มวัคซีนใจเพื่อลดความเสี่ยงฆ่าตัวตาย

72

 

ผลกระทบทางสุขภาพจิตจากการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 แบ่งคนไว้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

  1. ผู้ถูกกักกัน ผู้ติดเชื้อโควิด
  2. กลุ่มเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต โดย 2 กลุ่มนี้อาจะจะถูกตีตราจากสังคม
  3. บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานด้านการติดโควิด-19 ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการให้การดูแลผู้ป่วยแล้วผลไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ เช่น ผู้ป่วยจะดีขึ้นแต่กลับกลายเป็นเสียชีวิต หรือมีโอกาสติดเชื้อ เป็นความเครียดที่เกิดขึ้น อาจทำให้เกิดภาวะหมดไปในการทำงาน
  4. ประชาชนทั่วไป / ชุมชน ติดตามสถานการณ์ ข้อมูลโรคโควิด ทำให้เครียดเกิดขึ้น

ซึ่ง 4 กลุ่มนี้สามารถที่จะมีความเครียดเรื้อรัง หรือโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า และสุดท้ายอาจไปถึงการฆ่าตัวตายได้ในที่สุด

 

สำหรับการให้คำปรึกษาผ่านสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 กับโควิด-19 พบว่าในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. 2563 มีอยู่ที่เดือนละ 20 , 39 สายตามลำดับ แต่เดือนมี.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่พบผู้ป่วยโควิดมากขึ้นนั้น มีการโทรรับคำปรึกษา 600 สาย เพิ่มขึ้น 15 เท่า และเดือนเม.ย.ครึ่งเดือนโทรปรึกษาแล้ว 315 สาย โดยอันดับแรกที่มีการปรึกษา คือ เครียดวิตกกังวล 51.85%

 

การดูแลสุขภาพจิตของประชาชนในช่วงโควิด-19 ระบาด ทำได้โดยการเพิ่มศักยภาพของครอบครัว มาช่วยดูแลสุขภาพจิต โดยทำให้ครอบครัวเข้มแข็ง มีวัคซีนใจ ให้ครอบครัวเกิดภูมิคุ้มกันที่ดีด้านสุขภาพจิต ใช้หลักพื้นฐาน 4 หลัก ได้แก่

  1. ทำให้สงบ ทำให้คนในครอบรัวมีสติ รับรู้ข่าวสารที่ถูกต้อง ไม่เชื่อข่าวปลอมและมีความรู้ป้องกันตนเอง
  2. ทำให้คนในบ้านปลอดภัยทุกคน ในการดูแลสุอนามัยส่วนตน มีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ เมื่อเข้าบ้านไม่เอาเชื้อเข้าบ้าน ถอดรองเท้าล้างมือให้สะอาด
  3. ทำให้มีความหวัง ช่วงที่อยู่บ้านต้องวางแผนอย่างมีความหวังว่าเมื่อสามารถออกไปนอกบ้านได้ จะทำอะไร ประโยชน์ในการดูแลครอบครัวและสังคม
  4. มีการสื่อสารกัน แม้ตัวห่างแต่สามารถพูดคุยกันได้อย่างสม่ำเสมอระหว่างญาติมิตร ช่วยเหลือดูแลกัน มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตักเตือน ปลอบประโลมกัน จะได้ไม่เครียด ทำให้ครอบครัว ชุมชนเข้มแข็งขึ้น ดูแลสุขภาพจิตซึ่งกันและกัน

 

ว่าแล้วก็อย่าลืมหมั่นสังเกตสุขภาพจิตของสมาชิกในครอบครัวให้ดี ถ้าพบความเสี่ยง แนะนำให้ปรึกษาเพิ่มเติมกับเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญทางโทรศัพท์ได้ที่สายด่วน 1323

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *