โควิดในเด็กกับ ภาวะ MIS-C และ Long COVID

0

ยังคงเป็นโรคระบาดที่ต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง สำหรับโควิด-19 เพราะแม้จะหายป่วยแล้ว ก็ยังอาจมีอาการไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจหลงเหลืออยู่ ว่าแล้วมาสังเกตเจ้าตัวซนกันว่าสุ่มเสี่ยงต่อภาวะ MIS-C และ Long COVID หรือไม่? อย่างไร?

Multisystem Inflammatory Syndrome in Children (MIS-C) คือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบ ที่เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังเด็กหายจากการติดเชื้อโควิด-19 เริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ระยะหายจากโรคจนถึงหลังติดเชื้อ 2 – 6 สัปดาห์ สาเหตุเชื่อว่าเกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้มากเกินไป อาจมีอาการคล้ายโรคคาวาซากิ เช่น มีไข้สูง ผื่น ตาแดง ปากแดง ซึ่งอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาในไอซียู และอาจมีภาวะแทรกซ้อนทำให้เสียชีวิตได้

ส่วนภาวะ Long COVID เป็นอาการผิดปกติเกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือนนับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน โดยอาการเกิดขึ้นได้หลายระบบอย่างต่อเนื่อง หลังได้รับติดเชื้อโควิดนานกว่า 4-12 สัปดาห์และอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยสาเหตุอื่น ๆ

สรุปได้ว่า “ลองโควิด” กับ “มิสซี” ต่างกันโดย ลองโควิดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากหายป่วยโควิด เป็นอาการที่หลงเหลืออยู่จะทำให้มีอาการอ่อนเพลียพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนมิสซีเป็นภาวะอักเสบที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย ตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ไตอักเสบ เส้นเลือด สมอง และไม่ได้เกิดจากโควิดเพียงอย่างเดียว 

ในเด็กพบภาวะลองโควิดเพียงร้อยละ 25-45 ซึ่งระบบที่พบ ได้แก่ ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ภาวะเหล่านี้มักไม่รุนแรงแต่เรื้อรัง อาการจะเป็น ๆ หาย ๆ ได้ การรักษาโรคนี้มักเป็นการแยกโรคที่รุนแรงอื่นและรักษาตามอาการ รวมถึงการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันยังไม่ทราบถึงสาเหตุของการเกิดภาวะ Long COVID ที่ชัดเจน แต่คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนของเชื้อซึ่งไม่ส่งผลต่อการติดเชื้อแล้วแต่สามารถส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการอักเสบในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ยังไม่แน่ชัด แต่มีข้อสังเกตที่พบในหลาย ๆ การศึกษา อาทิ เพศหญิง อายุมาก ภาวะอ้วน มีโรคประจำตัว มีอาการมากกว่า 5 อาการในช่วง 1 สัปดาห์แรก ของการเจ็บป่วย และความรุนแรงของโรคมากในระยะแรก

กลุ่มอาการ Long COVID เริ่มมีการรายงานครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นมีรายงานที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่พบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง พบได้ในเด็กทุกกลุ่มอายุ อายุโดยเฉลี่ย 8-10 ปี อุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 0.03 ของผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโควิดทั้งหมด เด็กมักจะมาด้วยอาการไข้สูง ผื่น ปากแดง ตาแดง ต่อมน้ำเหลืองโต อาเจียน ถ่ายเหลว บางรายมีหอบเหนื่อย ปอดอักเสบ และมีภาวะช็อคจากการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ ผู้ป่วยเด็กมากกว่าร้อยละ 50 จำเป็นต้องรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตเนื่องจากภาวะช็อค

อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้มีอันตรายถึงชีวิตได้ โดยอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 ในส่วนของการรักษาใช้วิธีการให้อิมมูโนกลอบูลินและสเตียรอยด์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตอบสนองต่อการรักษาดี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *