โปรดทราบ!! “ไอโอดีน” มากไปก็ไม่ดีต่อสุขภาพ

0

ทราบกันดีว่า “ไอโอดีน” เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกาย กล่าวคือ ใช้สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมีบทบาทในการควบคุมเมตาบอลิซึมของร่างกาย ควบคุมการเผาผลาญสารอาหารต่างๆ ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย จำเป็นต่อการเจริญและพัฒนาการของสมอง แม้ร่างกายเราจะขาดไอโอดีนไม่ได้ แต่การได้รับแร่ธาตุชนิดนี้มากเกินไปก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน!

“สารไอโอดีน” (Iodine)

มีความจำเป็นผลต่อสุขภาวะและสติปัญญาของมนุษย์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ตามนี้

  • มารดาที่ตั้งครรภ์ หากได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอจะมีผลต่อการพัฒนาเซลล์สมองของทารก
  • เด็กวัยเรียน หากขาดสารไอโอดีนจะทำให้เรียนรู้ช้า พัฒนาการไม่สมวัยและสติปัญญา
  • ในผู้ใหญ่หากได้รับสารไอโอดีนไม่พอเพียงจะอ่อนเพลียง่าย ขาดความกระปรี้กระเปร่า ทำให้ความสามารถในการทำงานลดลง

แต่… !!!

ไอโอดีน-เกิน-ผลเสีย (2)

หากร่างกายได้รับปริมาณไอโอดีนที่มากเกินพอจะก่อให้เกิดปัญหากับสุขภาพได้ โดยจะทำให้เกิดโทษต่อต่อมไทรอยด์เกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์เกินหรือภาวะไทรอยด์เป็นพิษ

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่เผยแพร่ใน วารสารอเมริกันเจอร์นัลออฟคลินิคัลนิวทริชั่นพบว่า

“ผู้ที่ได้รับไอโอดีนโดยเฉลี่ยมากกว่า 400 ไมโครกรัมต่อวันขึ้นไป อาจทำให้เกิดโรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์แบบไม่แสดงอาการ เนื่องจากร่างกายมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ลดลง และไม่แสดงอาการใดๆ ที่บ่งชี้ภาวะร่างกายขาดฮอร์โมนไทรอยด์อย่างเด่นชัด แต่จะมีอาการเหนื่อยง่ายผิดปกติ ซึมเศร้า ผิวแห้ง และน้ำหนักตัวเพิ่มง่าย”

ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง เกลือบริโภคต้องมีไอโอดีนไม่น้อยกว่า 20 และไม่เกิน 40มิลลิกรัมต่อเกลือบริโภค 1 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังกำหนดให้น้ำปลา น้ำเกลือปรุงอาหาร และผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากย่อยโปรตีนของถั่วเหลืองที่มีการเติมไอโอดีนในขบวนการผลิตต้องมีไอโอดีนไม่น้อยกว่า 2 มิลลิกรัมและไม่เกิน  3 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2253 (สำหรับคนปกติปริมาณไอโอดีนที่แนะนำต่อวันคือ 150 ไมโครกรัม ส่วนในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรปริมาณไอโอดีนที่แนะนำต่อวันคือ 200 ไมโครกรัม)

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *