มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดบอกชัด “ความสัมพันธ์ดี = สุขภาพดี” หลังศึกษามานานร่วมศตวรรษ!

0

เพื่อนๆ คิดว่า อะไรคือเคล็ดลับของความสุขและการมีสุขภาพที่ดี?

นี่เป็นหนึ่งในคำถามที่ก่อให้เกิดหลากหลายวิธีการดูแลทั้งสุขภาพจิตและร่างกายเพื่อนำมาซึ่งผลลัพธ์ดังคำถามนั่นก็คือ “ความสุข” และ “สุขภาพดี” วันนี้เฮียมีคำตอบที่น่าสนใจ ใกล้ตัวจนหลายคนอาจอึ้งได้!

จากการศึกษาของผู้ทรงคุณวุฒิผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์และจิตแพทย์ประจำมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด Robert Waldinger บอกว่า คำตอบไม่ได้อยู่ในส่วนของชื่อเสียง เงินทองหรือว่าความสำเร็จในหน้าที่การงานแต่อย่างใด

“ความสัมพันธ์ที่ดีต่างหาก ที่ส่งผลให้คุณมีความสุขมากกว่าและสุขภาพก็ดีมากกว่าด้วย”

relationships-effect-on-happiness (2)

การศึกษานี้ไม่ได้กล่าวอ้างลอยๆ แต่มีการทดลองมาอย่างยาวนานกว่า 75 ปีด้วยกัน โดยเริ่มตั้งแต่ปี 1930 หรือพ.ศ.2473 (เรายังเป็นวุ้นกันอยู่เลยนะครับ!) ของมหาวิทยาลัยระดับโลกอย่างฮาร์วาร์ดที่แบ่งกลุ่มการศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย (ใน New York Times ได้บันทึกไว้ด้วยว่า 1 ในนักศึกษากลุ่มนี้มีท่านประธานาธิบดีอย่าง John F. Kennedy รวมอยู่ด้วย) ส่วนในกลุ่มที่ 2 นั้นเป็นเด็กหนุ่มจากครอบครัวด้อยโอกาสและยากจนที่สุดในบอสตัน

ผลการตรวจสอบผ่านทั้งกระบวนการสแกนสมอง สัมภาษณ์ปัจจัยต่างๆ โดยรอบ รวมไปถึงครอบครัวของผู้เข้ารับการศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม มีการตรวจเลือดและตรวจสุขภาพ ซึ่งผลที่ออกมานั้นสรุปได้ว่า…

ความสุขและสุขภาพที่มีอยู่ทั้งหมดเกี่ยวกับความสัมพันธ์

relationships-effect-on-happiness (1)

โดยประกอบไปด้วยหัวข้อที่น่าสนใจ ดังต่อไป

  1. คนที่รู้จักเข้าสังคมมักจะมีความสุขมากกว่า สุขภาพดีกว่าและอายุยืนกว่า
  2. จำนวนของความสัมพันธ์ไม่ส่งผลต่อ “ความสุข” โดยรวม แต่เป็นความจริงใจต่อกันในการคบหาต่างหากที่สร้างผลพวงแห่งความสุขและสุขภาพที่ดีในการทดลอง เช่น การที่คุณมีเพื่อน 10 คน แต่ไม่ได้ใกล้ชิดกันเท่าไหน่นั่นไม่ทำให้คุณมีความสุขเท่ากับคนที่มีเพื่อนสนิทจริงใจเพียง 2 คน
  3. คู่รักที่ขัดแย้งกันตลอดเวลานั้นเลวร้ายกว่าคู่ที่หย่าร้าง “ความสัมพันธ์ที่ดี” ไม่ได้หมายความว่าไม่ทะเลาะกันเลย แต่พวกเขาต้องรู้จักการตกลงร่วมกัน ผลัดกันให้และรับ เชื่อใจกัน เคารพซึ่งกันและกัน
  4. “ความโดดเดี่ยวฆ่าคนได้” ความรู้สึกโดดเดี่ยวเป็นพิษ คนที่รู้สึกแปลกแยกจะไม่มีความสุข ที่สุดก็จะส่งผลไปถึงสุขภาพของพวกเขา และกลายเป็นคนอายุสั้น

แน่นอนว่า การใช้ชีวิตนั้นเป็นเรื่องยาก ความสัมพันธ์ก็เป็นหนึ่งในนั้น เราไม่สามารถกำหนดมันได้แม้อยากทำให้มันสมบูรณ์แบบก็ตาม อย่างไรก็ดี ในทุกความสัมพันธ์ย่อมมีจุดด่างพร้อย เพียงแต่ถ้าเรารู้จักเชื่อใจและให้อภัยเป็น เราก็จะพบความสุขที่แท้จริงได้นะครับ

 

ที่มา : The Key to Happiness and Living Longer? Harvard Found It โดย 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *