7 พฤติกรรมการกินที่ควรเลี่ยง ถ้าไม่อย่างเสี่ยง “ท้องอืด”

0

ถึงแม้ว่า “ท้องอืด” จะไม่ได้เป็นอาการที่ทำให้เกิดอันตราย แต่ก็สร้างความรำคาญและทำให้รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัวให้ผู้ที่เป็น อาจทำให้เกิดความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันหรือการทำกิจกรรมบางอย่างได้ อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาท้องอืดไม่จำเป็นต้องกินยาเสมอไป แค่ปรับพฤติกรรมการกินก็ช่วยลดอาการท้องอืดได้

7 พฤติกรรมการกินที่ควรเลี่ยงถ้าไม่อย่างเสี่ยง “ท้องอืด”

1. รับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มให้ช้าลง เคี้ยวอาหารให้ละเอียด รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่พูดคุยระหว่างรับประทานอาหาร จะช่วยลดการกลืนอากาศให้น้อยลงได้ ทำให้เกิดอาการท้องอืดน้อยลง

2. หากมีอาการท้องอืดบ่อย ๆ เนื่องจากรับประทานอาหารมากเกินไป ควรลดปริมาณอาหารลง หรือแบ่งย่อยมื้ออาหารจาก 3 มื้อ เป็น 5-6 มื้อ เพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างเป็นปกติ การรับประทานอาหารมากเกินไป ทำให้อาหารย่อยช้า ค้างอยู่ในกระเพาะนาน เมื่ออาหารค้างอยู่ในกระเพาะจะเกิดการหมัก ส่งผลให้เกิดแก๊สในกระเพาะ ทำให้แน่นท้องและเกิดภาวะกรดไหลย้อนได้ หลังมื้ออาหารจึงควรเดินสักพักหนึ่งเพื่อกระตุ้นให้กระเพาะและลำไส้มีการเคลื่อนไหว

3. หลีกเลี่ยงหรือจำกัดอาหารประเภทไขมัน เช่น แกงกะทิ อาหารผัด อาหารทอด เบเกอรี่ที่อุดมไปด้วยนม เนย เนื่องจากอาหารประเภทนี้ย่อยยากและตกค้างอยู่ในกระเพาะและลำไส้นานกว่าอาหารชนิดอื่นก่อให้เกิดการหมักหมม มีแก๊สคั่งค้าง ให้เกิดอาการท้องอืด

4. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น พืชตระกูลผักกาด พืชตระกูลถั่ว หัวหอม บรอกโคลี กะหล่ำดอก กล้วย ลูกเกด ขนมปังโฮลวีท รวมถึงดื่มน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลงหรือจำกัดการดื่ม เพราะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก นำไปสู่อาการท้องอืด

5. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของสารให้ความหวานแทนน้ำตาล เช่น ซอร์บิทอล (Sorbitol) เพราะผลิตจากน้ำตาลฟรุกโตสที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการท้องอืด

6. ผู้ป่วยที่มีอาการท้องอืดจากการแพ้โปรตีนกลูเตน ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของข้าวสาลีทุกชนิด หากแพ้น้ำตาลแลกโตสก็ควรงดผลิตภัณฑ์จากนมเช่นกัน โดยเปลี่ยนมาบริโภคผลิตภัณฑ์ทำจากนมที่ปราศจากแลคโตสแทน

7. หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่งหรืออมลูกอม เพราะขณะที่กำลังเคี้ยวหมากฝรั่งหรืออมลูกอม จะทำให้กลืนอากาศเข้าไปมากกว่าปกติ และทำให้แก๊สสะสมในทางเดินอากาศส่วนบน นำไปสู่อาการท้องอืดได้

ใครมีปัญหาท้องอืดบ่อย ๆ ขอแนะนำผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก Probi LP (โพรบี แอลพี) จุลินทรีย์สุขภาพLP299v นำเข้าจากยุโรป เป็นสายพันธุ์ที่มีงานวิจัยรับรองมากที่สุดในบรรดาเชื้อชนิด Lactobacillus plantarum ซึ่งมีความเฉพาะเจาะจงต่อภาวะลำไส้แปรปรวน (IBS) ทั้งอาการปวดเกร็งช่องท้อง ท้องอืด อึดอัดแน่นท้อง ช่วยลดอาการปวดท้อง ท้องอืด ลดแก๊สในกระเพาะอาหาร ช่วยให้ขับถ่ายเป็นปกติ ปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร มีความปลอดภัยสูง โดยรับประทานวันละ 1 แคปซูล โดยจะเริ่มเห็นผลหลังใช้ประมาณ 1 สัปดาห์ และอาการจะดีขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดการใช้ที่ 4 สัปดาห์

หากเกิดอาการท้องอืดอย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรปรับพฤติกรรมการกิน หรือไปพบแพทย์ เพราะแม้ท้องอืดจะเป็นเพียงอาการ ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ท้องอืดก็อาจเป็นอาการหนึ่งของโรคร้ายแรง หรือพัฒนาไปสู่โรคอื่น ๆ ได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *