เคล็ดลับการกินเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด “ภาวะท้องผูก”

0

ไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบอันส่งผลต่อการกิน และพฤติกรรมการกินที่ตามใจปาก นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้หลายโรคก่อตัวขึ้นอย่างช้า ๆ โดยกลุ่มโรคที่เด่นชัด คือ โรคระบบทางเดินอาหาร และภาวะที่พบบ่อยคืออาการ “ท้องผูก” ซึ่งหากเป็นบ่อย เป็นระยะเวลานาน อาจนำไปสู่การเกิดภาวะ “ท้องผูกเรื้อรัง” ได้

 

ไต

 

“ภาวะผูก” หมายถึง การถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องใช้แรงเบ่งมาก อุจจาระจะแห้งแข็ง มีจำนวนน้อย (ต่ำกว่า 100 กรัม) ภาวะท้องผูกเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหลักๆ ได้แก่ การปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้อง (เช่น รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย กลั้นอุจจาระบ่อย ๆ), การเบ่งถ่ายอุจจาระผิดวิธี, การทำงานของลำไส้ใหญ่ผิดปกติ, การอุดกั้นของลำไส้หรือทางเดินอาหาร, การใช้ยาบางชนิด (เช่น  ยารักษาอาการซึมเศร้า, ยาลดความดันโลหิต)

 

ความแตกต่างระหว่างอาการท้องผูก กับท้องผูกเรื้อรัง คือ ระยะเวลาของอาการที่เกิดขึ้น โดยผู้ที่มีปัญหาท้องผูกทั่วไปมักมีอาการท้องผูกที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก หรือเกิดติดต่อกันเพียงไม่กี่วันเท่านั้น ส่วนผู้ที่มีอาการท้องผูกเรื้อรังมักถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง อาจมีอาการถ่ายอุจจาระไม่ออกหรือถ่ายได้ไม่สุด ต้องใช้แรงเบ่งมาก ต้องใช้มือกดบริเวณหน้าท้อง และอาจต้องใช้นิ้วมือช่วยเขี่ยอุจจาระออกจากช่องทวารหนักด้วย ซึ่งอาการท้องผูกเรื้อรังจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานกว่า 3 เดือน หรือนานเป็นปี

 

เคล็ดลับการกินเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด “ภาวะท้องผูก”

  1. ดื่มน้ำให้มากพอเพื่อให้อุจจาระอ่อนนุ่ม ทำให้ขับถ่ายง่ายขึ้น รวมถึงน้ำช่วยให้การลำเลียงอาหารในลำไส้ทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ควรเริ่มต้นวันด้วยการดื่มน้ำหลังจากตื่นนอน เนื่องจากการดื่มน้ำหลังตื่นนอน จะช่วยให้การขับถ่ายของเสียของร่างกายทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แนะนำให้ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำที่อุณหภูมิห้อง
  2. รับประทานอาหารที่มีกากใยหรือไฟเบอร์มากขึ้น เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ (อาทิ ส้ม มะละกอ) ซีเรียล ขนมปังธัญพืช เพื่อช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้และการขับถ่ายให้ดีมากขึ้น โดยควรรับประทานอาหารที่กากใยประมาณ 20-25 กรัม/วัน
  3. รับประทานอาหารเช้าทุกวัน เพราะอาหารเช้าช่วยให้กระเพาะอาหารขยายตัวแล้วไปกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ทำงานเกิดเป็นความรู้สึกอยากถ่าย ซึ่งความรู้สึกอยากถ่ายนั้นเกิดขึ้นเพียงประมาณ 2 นาทีเท่านั้น หากไม่มีการถ่าย ความรู้สึกอยากถ่ายจะหายไปและอุจจาระก็จะแข็งขึ้นทำให้เกิดปัญหาท้องผูกตามมา
  4. รับประทาน Combif AR อาหารเสริมจุลินทรีย์สุขภาพโปรไบโอติก เพื่อช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ชนิดดีในทางเดินอาหาร โดยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ชนิดดีให้มีปริมาณที่มากพอ ทำให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวให้ขับถ่ายได้ตามธรรมชาติ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อต่อสู้ และกำจัดจุลินทรีย์ร้ายให้ไม่สามารถยึดเกาะกับผนังลำไส้ได้ โดยจะถูกขับออกไปทางอุจจาระ เมื่อรับประทานเป็นประจำจะช่วยให้ลำไส้กลับมาทำงานได้ปกติและดีขึ้น หมดปัญหาท้องผูก

 

ทั้งนี้ หากมีอาการซีดจากขาดธาตุเหล็ก ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ใช้ยาระบายไม่ได้ผล ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *