โหมงานกลางแดดนานๆ ระวัง “ตะคริวแดด”

0

เรียกว่าเป็นฤดูร้อนที่สาหัสสากรรจ์จนแทบทนไม่ไหวจริงๆ สำหรับอากาศในเดือนเมษายนของบ้านเราโดย แต่ละวันอุณหภูมิช่วงกลางวันเวลาประมาณ 13.00 น. ถึง 16.00 น. จะเป็นช่วงที่อุณหภูมิอากาศร้อนที่สุด ความที่ร้อนแดดเปรี้ยงอย่างนี้นอกจากจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียแล้ว หากคุณทำงานกลางแดดหรือท่ามกลางอากาศร้อนเป็นเวลานานๆ ยังเสี่ยงกับอาการ “ตะคริวแดด” อีกด้วย

ตะคริวแดด (Heat Cramps) มักพบในผู้ที่ทำงานกลางแดด หรือออกกำลังกายหักโหมขณะที่มีอากาศร้อน นอกจากนี้ยังพบมากจากการวิ่งออกกำลังกายในที่อากาศร้อนเป็นระยะเวลานานๆ จนเหงื่อออกมาก

ThinkstockPhotos-476975045

แต่ได้รับการทดแทนน้ำและเกลือแร่ไม่เพียงพอ ทำให้กล้ามเนื้อกระตุก เกร็ง เป็นตะคริว จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ หน้าท้อง แขน ขา มีอาการเกร็ง ผู้ป่วยต้องหยุดออกกำลังกาย หรือหยุดใช้แรงทันที เมื่ออาการดีขึ้นแล้ว ไม่ควรออกกำลังกายซ้ำภายใน 2-3 ชั่วโมง ให้ดื่มน้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มที่มีเกลือแร่ หากเป็นไปได้ให้อยู่ในที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ หากอาการไม่ดีขึ้นใน 1 ชั่วโมง ให้รีบไปพบแพทย์

คำแนะนำสำหรับป้องกันอันตรายจากอากาศร้อน คือ เตรียมสภาพร่างกายให้พร้อม ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดในวันที่อากาศร้อนจัด ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว หรือประมาณวันละ 2 ลิตร สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน ไม่หนา น้ำหนักเบา และสามารถระบายความร้อนได้ดี ทาครีมหรือโลชั่นกันแดดเพื่อปกป้องผิวจากรังสียูวี หลีกเลี่ยงการกินยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก โดยเฉพาะก่อนการออกกำลังกายหรืออยู่กลางแดดเป็นเวลานานๆ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด เนื่องจากฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ จะทำให้หลอดเลือดใต้ผิวหนังขยายตัว ผนวกกับอากาศที่ร้อนอบอ้าว จะทำให้สูญเสียน้ำทางเหงื่อและปัสสาวะได้ง่ายยิ่งขึ้น ทำให้ร่างกายขาดน้ำ อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น อาจช็อคหมดสติได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *