6 วิธีปรับพฤติกรรมเพื่อห่างไกล “ออฟฟิศซินโดรม”

0

อาการบาดเจ็บที่เกิดจากการทำงานในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง เป็นผลมาจากการทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ประกอบกับความเร่งรีบต่างๆ บางครั้งทำให้ต้องอดอาหาร อดนอน หรือนอนดึก เมื่อบวกกับความเครียดและกดดันจากการทำงาน ล้วนเป็นสาเหตุให้เกิด “ภาวะออฟฟิศซินโดรม” ได้

วิธีปรับพฤติกรรมเพื่อให้ห่างไกลออฟฟิศซินโดรม

โดย  นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ มีดังนี้

6-ways-to-adjust-the-behavior-so-far-office-syndrome

  1. ควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถจากการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ โดยการขยับร่างกาย เพื่อยืดกล้ามเนื้อระหว่างวัน
  2. ผ่อนคลาย ลดความเครียด เพราะความเครียดนำมาซึ่งอาการยึดตึงของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อได้ทุกส่วน
  3. ปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงาน เช่น จัดโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบ สะดวกต่อการหยิบสิ่งของ เลือกเก้าอี้ที่เหมาะสมมีพนักพิงที่รองรับแผ่นหลังอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งปรับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสรีระของร่างกาย
  4. รับประทานอาหารให้ตรงมื้อและครบคุณค่าทางโภชนาการ
  5. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
  6. ควรออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 วัน วันละ 30 นาที เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีห่างไกลโรค และส่งผลให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การออกกำลังกายที่ดีต่อสุขภาพและทุกคนสามารถทำได้ คือ การวิ่ง หรือการเดินเพื่อสุขภาพและการขยับร่างกายระหว่างวันอย่างสม่ำเสมอ โดยท่าวิ่งที่เหมาะสม ควรวิ่งให้หลังตรงและเป็นธรรมชาติมากที่สุด ศีรษะตรง ตามองตรงไปข้างหน้าให้ส่วนต่างๆ จากศีรษะลงมาหัวไหล่และสะโพกจนถึงพื้นเป็นเส้นตรง ลำตัวไม่โน้มไปด้านหน้าหรือเอนไปด้านหลัง

ที่สำคัญก่อนและหลังการวิ่งทุกครั้ง ควรอบอุ่นร่างกายและผ่อนคลายร่างกายประมาณ 4 – 5 นาที ด้วยการวิ่งเหยาะๆ ด้วยความเร็วที่น้อยกว่าที่ใช้ในการวิ่งจริง พร้อมกับทำกายบริหารยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วย

นอกจากนี้ ระหว่างนั่งทำงานในแต่ละวัน ควรปรับอิริยาบถด้วยการขยับเดินบ้าง เป็นเวลาอย่างน้อย 5-10 นาที หรือขยับปรับเปลี่ยนอิริยาบถทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อลดความเสี่ยงของออฟฟิศซินโดรมค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *