ระวัง! สมุนไพรรักษาเบาหวาน ผสม “ไคร้เครือ” ทำไตอักเสบ

0

“เบาหวาน” ถือเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย

ต้องได้รับการดูแลรักษาตลอดชีวิต ความที่เบาหวานเป็นโรคที่ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและกินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เมื่อผู้ป่วยเห็นโฆษณาชวนเชื้อเกี่ยวกับยาหรือวิธีรักษาเบาหวานที่อ้างว่าได้ผล ความที่อยากหายจากอาการเจ็บป่วยจึงหลงเชื่อโดยง่าย

ล่าสุดศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย.ได้รับรายงานการเกิดภาวะไตอักเสบจากการใช้ยาสมุนไพรแก้เบาหวาน (Chinese herbnephropathy) ผลการตรวจสอบจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบ…

กรดเอริสโทโลคิก (Aristolochic acid) ซึ่งเป็นสารที่พบในสมุนไพรไคร้เครือ มีผลทำให้เกิดภาวะไตอักเสบ ไตวายเรื้อรัง ซึ่งยาสมุนไพรแก้เบาหวานที่มีส่วนผสมของไคร้เครือชนิดนี้ มีลักษณะเหมือนยาลูกกลอนแบ่งบรรจุ ไม่มีเลขทะเบียน สามารถซื้อเองได้ตามท้องตลาด

%e0%b9%84%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad-%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%99

“ไคร้เครือ”

เป็นพรรณไม้เถา ขนาดเล็ก เกลี้ยง มียางสีขาว ส่วนที่ใช้เป็นยาคือส่วนราก โดยไคร้เครือเป็นเครื่องยาสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ใช้กันมากในตำรับยาไทย โดยเฉพาะตำรับยาแก้ไข แก้อักเสบ และคลายรวมถึงเคยใช้เป็นส่วนผสมในยาหอมแก้ลมวิงเวียน มีส่วนประกอบของกรดเอริสโทโลคิกที่ทำให้เซลล์บุท่อไตตาย เกิดพังผืดในเนื้อไตและไตเสื่อมเรื้อรังตามมาได้ อีกทั้งยังเป็นสารก่อมะเร็ง จากเหตุผลนี้ทำให้คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติตัดไคร้เครือออกจากตำรับยาแผนไทยในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2554

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเบาหวาน ต้องควบคู่กันไประหว่างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การใช้ยา และการรักษาควบคุมโรคร่วมต่างๆ หรือโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต คือ การลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำหนัก ลดอาหารแป้ง น้ำตาล และไขมัน เพิ่มอาหารผักและผลไม้ และออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพ ส่วนการใช้ยาจะอยู่ในดุลพินิจของแพทย์

ฉะนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือโรคใดก็ตามอย่าซื้อยาสมุนไพรที่ไม่มีการขึ้นทะเบียนมารับประทาน เนื่องจากอาจมีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากเจ็บป่วยควรปรึกษาแพทย์โดยตรง เพื่อการวินิจฉัยและรักษาโรคอย่างแม่นยำ รวมถึงเพื่อป้องกันการเสียเงินโดยไม่จำเป็น และยังอาจได้รับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายโดยคาดไม่ถึง

ทั้งนี้ ควรเลือกซื้อสมุนไพรที่มีฉลากชัดเจนและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพราะการโฆษณายาสมุนไพรบางประเภทมักอวดอ้างถึงแต่สรรพคุณเพื่อการรักษาโดยไม่ได้กล่าวถึงผลข้างเคียงที่อาจพบได้ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *