ปัญหาสุขภาพจิตรุมเร้า “วัยทำงาน” รุนแรงถึงขั้นฆ่าตัวตาย!

0

โรคซึมเศร้า” และ “ภาวะเครียด-โรควิตกกังวล” ถือเป็นปัญหาสุขภาพจิตของวัยทำงานทั่วโลกที่พบบ่อย โดยพบผู้ป่วยประมาณ 300 ล้านคน และ 260 ล้านคน ตามลำดับ เนื่องจากชีวิตส่วนใหญ่ของเราจะอยู่ในช่วงวัยทำงาน ส่วนในไทยพบปัญหาสุขภาพจิตในวัยทำงานสูงเช่นกัน แถมยังรุนแรงถึงขั้นฆ่าตัวตาย!

“โรคจิตเวช”

กลุ่มอาการทางจิตใจหรือพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลนั้นเกิดความทุกข์ทรมาน หรือมีความบกพร่องในกิจวัตรต่างๆ สำหรับโรคจิตเวชที่พบบ่อย ได้แก่ โรคจิตเภท (Schizophrenia), โรคซึมเศร้า (Depression), โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder), โรคกังวลไปทั่ว (Generalized Anxiety Disorder)

mental-health-problems-are-rampant-working-age-to-the-stage-of-suicide-1

ข้อมูลจาก น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ระบุว่า…

ช่วงเวลาของการทำงานมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ หากมีประสบการณ์การทำงานที่ดี ย่อมส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตและผลผลิตของงาน ตรงกันข้ามหากมีประสบการณ์การทำงานที่ไม่ดี ย่อมส่งผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต เกิดปัญหาสุขภาพตามมา อาจใช้ยาเสพติด สุรา และหยุดงาน

สำหรับประเทศไทย ปัญหาสุขภาพจิตวัยทำงานช่วงอายุ 20 – 59 ปี ที่น่าห่วง คือ ปัญหาการฆ่าตัวตาย ซึ่งพบว่า เป็นกลุ่มวัยที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุด อยู่ที่ 8.04 ต่อแสนประชากร โดยเฉพาะอายุระหว่าง 35 – 39 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายมากที่สุด 9.55 ต่อแสนประชากร

จากสถิติการขอรับบริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตของวัยทำงาน ผ่านสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่า ปัญหาทางจิตเวช เป็นปัญหาสำคัญลำดับแรกที่วัยทำงานโทร.เข้ามาปรึกษามากที่สุด จำนวน 20,102 คน รองลงมา คือ ปัญหาความเครียด หรือ วิตกกังวล จำนวน 17,347 คน เช่น ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพกาย โรคเรื้อรัง มีหนี้สิน ฯลฯ ปัญหาความรัก จำนวน 4,776 คน ปัญหาครอบครัว 2,513 คน และซึมเศร้า 2,085 คน ตามลำดั20

การสร้างสุขในวัยทำงานมีหลายวิธี เช่น ฝึกมองโลกในแง่ดี มองจุดดีของตนเอง มองเห็นสิ่งดีๆ ในสิ่งที่ไม่ดี ทุกปัญหาย่อมมีทางแก้ไข, ปรับเปลี่ยนความคิด เปิดใจกว้าง ลดอคติและทิฐิ, สร้างความเข้มแข็งทางใจ โดยควบคุมอารมณ์ อดทนตั้งสติ เตรียมรับมือกับปัญหา ไม่ท้อ มองทุกปัญหามีทางออก ลุกขึ้นเผชิญหน้า

นอกจากนี้อาจค้นหาพลังใจ หรือหลักคิดในการดำเนินชีวิต เช่น ความกตัญญู การให้อภัย เมื่อวิกฤตก็ให้ใช้เป็นพลังฟื้นฟูใจ รวมถึงรู้จักพอใจในสิ่งที่มี หรือยึดหลักพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *