ชวนหาคำตอบ “ซีสต์” คืออะไร หากเผลอบีบจับจะเป็นอันตรายหรือไม่?

0

ทั้งสยองแถมยังชวนแหวะไม่น้อย แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าบรรดาคลิปบีบซีสต์ทั้งหลายกลับมียอดวิวสูงปรี๊ด ความที่หลายคลิปใช้วิธีการกำจัดซีสต์ด้วยการเจาะหรือกรีดแล้วบีบออก ทำให้หลายคนเข้าใจว่าเมื่อมีซีสต์เกิดขึ้นภายนอกร่างกายสามารถกำจัดได้ด้วยวิธีดังกล่าว งานนี้จะชัวร์หรือมั่วนิ่ม ไปตามหาคำตอบกันค่ะ

“ซีสต์” (Cyst)

cyst-2

คืออาการแบ่งเซลล์อันผิดปกติของร่างกาย ก่อให้เกิดก่อให้เกิดสิ่งผิดปกติที่มีลักษณะเป็นถุงน้ำที่เกิดขึ้นบนเนื้อเยื่อตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยภายในซีสต์มักบรรจุของเหลว ของแข็งกึ่งของเหลว หรืออากาศไว้ โดยมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ซีสต์ที่ขึ้นบนผิวหนังจะมีลักษณะนูน ส่วนซีสต์ที่ขึ้นใต้ผิวหนังอาจจะคลำได้เป็นก้อน และซีสต์ที่ขึ้นที่อวัยวะภายใน อาจไม่ปรากฏอาการใดๆ ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกว่ามีซีสต์ขึ้นมาภายในร่างกายตัวเอง

ซีสต์ มีหลายชนิด โดยอาการสำคัญของซีสต์ คือ การพบก้อนที่โตช้าๆ ซึ่งอาการที่เกิดจากซีสต์จะแตกต่างกันไป ขึ้นกับตำแหน่งที่เกิดซีสต์ ทั้งนี้ สามารถจำแจกซีสต์ที่เกิดขึ้นบนผิวหนังตามลักษณะตำแหน่งที่เกิด และส่วนประกอบของซีสต์

สำหรับซีสต์ที่มีผนังซึ่งมีส่วนประกอบคล้ายผิวหนัง ได้แก่ Epidermal Cyst, Milium, Steatocystoma Multiplex, Vellus Hair Cyst และ Dermoid Cyst ส่วนซีสต์ที่มีผิวหนังเป็นต่อมเหงื่อ ได้แก่ Apocrine และ Eccrine Hidrocystoma

cyst-1

ในส่วนของซีสต์ที่พบบ่อยที่สุด คือ Epidermal Cyst เป็นซีสต์ที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง ที่เป็นส่วนประกอบของรูขุมขน โดยมี Keratin บรรจุอยู่ภายใน ซีสต์ชนิดนี้มีลักษณะเป็นก้อนกลมๆ ขนาดแตกต่างกัน สีเดียวกับผิวหนังซึ่งยึดติดอยู่กับผิวหนังด้านบน แต่ไม่ติดกับเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ซีสต์และอาจมีรูเปิดที่ผิวหนังในส่วนที่ซีสต์ยึดติดอยู่ ซีสต์ชนิดนี้เป็นกันได้ในทุกเพศทุกวัยและทุกส่วนของร่างกาย แต่พบบ่อยคือ ที่ใบหน้า คอ หน้าอก และหลังส่วนบน

โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากซีสต์ ส่วนใหญ่เป็นการอักเสบและการติดเชื้อแทรกซ้อน ซึ่งมักเกิดขึ้นในกรณีที่ซีสต์แตก จากการถูกเจาะหรือบีบซีสต์ หรือการที่ซีสต์นั้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกเสียดสีบ่อยๆ ทำให้สารที่บรรจุอยู่ในซีสต์เล็ดลอดออกมากระตุ้นให้ร่างกายเกิดขบวนการอักเสบ และเชื้อแบคทีเรียที่อยู่บนผิวหนัง แทรกซึมเข้าไปเจริญเติบโตในซีสต์ ทำให้ซีสต์มีขนาดใหญ่ขึ้น แดงและเจ็บ ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยหากมีซีสต์จึงควรไปพบแพทย์เพื่อให้ตรวจวินิจฉัยและรักษาได้อย่างตรงจุด

ฉะนั้น เพื่อป้องกันอาการอักเสบของซีสต์ที่อาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงอื่นๆ อย่ามือซนไปบีบ เจาะซีสต์เองโดยเด็ดขาดนะคะ เพราะสามารถทำให้ติดเชื้อ และเป็นแผลขึ้นมาได้ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *