WFH ทำพิษ! นั่งนาน-นั่งไม่ถูกวิธี เสี่ยงป่วยออฟฟิศซินโดรม
จากนโยบายทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home อาจก่อให้เกิด โรคออฟฟิศซินโดรม ตามมาได้ เนื่องจากอุปกรณ์สำนักงานในบ้านอาจไม่เพียงพอ ไม่เหมาะกับสรีระ หรือลักษณะการนั่งไม่ถูกวิธี
จากนโยบายทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home อาจก่อให้เกิด โรคออฟฟิศซินโดรม ตามมาได้ เนื่องจากอุปกรณ์สำนักงานในบ้านอาจไม่เพียงพอ ไม่เหมาะกับสรีระ หรือลักษณะการนั่งไม่ถูกวิธี
ไหล่ตึง หลายคนที่ทำงานอยู่หน้าจอตลอดเวลาอาจมีอาการนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการของกลุ่มออฟฟิศซินโดรม จากบทความเรื่อง 6 วิธีปรับพฤติกรรมเพื่อห่างไกล “ออฟฟิศซินโดรม” ได้บอกถึงแนวทางช่วยให้เราลดเสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรม
อาการบาดเจ็บที่เกิดจากการทำงานในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง เป็นผลมาจากการทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ประกอบกับความเร่งรีบต่างๆ บางครั้งทำให้ต้องอดอาหาร อดนอน หรือนอนดึก เมื่อบวกกับความเครียดและกดดันจากการทำงาน ล้วนเป็นสาเหตุให้เกิด “ภาวะออฟฟิศซินโดรม” ได้
ประชากรวัยทำงาน ถือเป็นชนกลุ่มใหญ่ในบ้านเรา เป็นกำลังสำคัญในเชิงเศรษฐกิจ ดังนั้น การดูแลให้คนกลุ่มนี้มีสุขภาพที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมื่อมีสุขภาพดี ก็จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ด้วยไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ทำให้คนวัยทำงานเสี่ยงป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ กันมากขึ้น
ปัจจุบันหลายคนทำงานจำนวนมากถึง 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือมากกว่า และมักทำงานกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งนั่งท่าเดิมนานๆ ก้มหน้าพิมพ์งาน ไม่เคลื่อนไหว หรือมองจอเพื่ออ่านข้อมูลต่างๆ เป็นเวลานาน ย่อมส่งผลเมื่อยตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กระดูกข้อต่อเสื่อม และอาจรุนแรงถึงขั้นก่อโรคต่างๆ ได้ในอนาคต
ยกให้เป็นกลุ่มอาการยอดนิยมของคนทำงานออฟฟิศ ที่วันๆ เอาแต่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ แทบจะไม่ได้ขยับร่างกายไปไหน นำไปสู่อาการกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเมื่อยหลัง ไหล่ คอ บ่า แขน ข้อมือ ที่น่ากลัวก็คือ หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ อาจนำไปสู่อาการหมอนรองกระดูกเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทได้
สภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานตลอดเวลา ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้อ บางรายที่มีอาการของหมอนรองกระดูกเคลื่อนอยู่แล้ว หากทำงานในอริยาบทที่ผิดจะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น