3 เดือนแรกของปี ระวัง “โรคสุกใส” ที่พบมากในกลุ่มเด็กนักเรียน

0

แม้ไม่ใช่โรคที่รุนแรง แต่ “โรคสุกใส” ก็เป็นโรคที่คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกน้อยวัยซนควรให้ความสนใจ เพราะเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน

จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค เกี่ยวกับสถานการณ์โรคสุกใสในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1–29 มกราคม 2561 ได้รับรายงานผู้ป่วยแล้ว 3,858 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 10-14 ปี รองลงมา 7–9 ปี และ 15–24 ปี ส่วนใหญ่พบในเด็กนักเรียน โดยพบในจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ภูเก็ต นราธิวาส แม่ฮ่องสอน ยโสธร และลำพูน ตามลำดับ

โรคนี้มักพบในกลุ่มเด็กนักเรียน ซึ่งจะมีจำนวนผู้ป่วยมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคมของทุกปี

%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%81%e0%b9%83%e0%b8%aa

“โรคสุกใส”

เกิดจากเชื้อไวรัส เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ไวรัสวาริเซลลา (varicella virus) เป็นเชื้อตัวเดียวที่ทำให้เกิดงูสวัด เชื้อโรคอยู่ในน้ำมูก น้ำลายผู้ป่วย ติดต่อกันโดยการไอ จาม หายใจรดกัน หรือโดยการสัมผัส การใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย

อาการป่วย ในเด็กๆ จะมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ในผู้ใหญ่มักมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว และมีผื่นขึ้นพร้อมกับวันที่มีไข้ ต่อมาผื่นกระจายไปทั่วตัว บางรายอาจมีตุ่มในปาก ทำให้ปากลิ้นเปื่อย ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ ตุ่มจะตกสะเก็ดและค่อยๆ หายเองใน 1-3 สัปดาห์ โดยไม่มีแผลเป็น

หากเจ้าตัวเล็กป่วยเป็นโรคสุกใส คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกหยุดเรียน เพื่อพักผ่อนที่บ้าน ควรอาบน้ำและใช้สบู่ฆ่าเชื้อฟอกผิวหนังให้สะอาด ตัดเล็บให้สั้น หลีกเลี่ยงการแกะหรือเกาตุ่ม ถ้ามีไข้สูงให้กินยาพาราเซตามอลลดไข้ ส่วนสมาชิกในครอบครัวควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย ล้างมือบ่อยๆ ไม่ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน ทั้งนี้ ผู้ที่เคยเป็นแล้วจะมีภูมิต้านทานตามธรรมชาติไปตลอดชีวิต

ทั้งนี้ การป้องกันที่ได้ผลในปัจจุบันคือ การฉีดวัคซีน ซึ่งวัคซีนนี้สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันโรคได้ดีในเด็ก โดยเด็กอายุ 1-12 ปี สามารถป้องกันโรคโดยฉีดวัคซีนเพียงเข็มเดียว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *