8 วิธีทำอย่างไรให้ห่างไกลอาการท้องอืด + ท้องผูก

0

“ท้องอืด-ท้องผูก” ถือเป็นโรคระบบทางเดินอาหารยอดนิยมที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย แม้โดยทั่วไปจะไม่ได้ก่อให้เกิดโรคร้ายแรง แต่สร้างความอึดอัดทรมาน และอาจส่งผลให้เกิดกลิ่นปากได้ ครอบครัวไหนมีสมาชิกในบ้านมีอาการ “ท้องอืด-ท้องผูก” อยู่ล่ะก็ มารู้จักโรคนี้พร้อมวิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคกันค่ะ

ท้องอืด คือ เป็นภาวะที่เกิดจากแก๊สในกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่มากเกินไป ทำให้รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง เรอ ผายลม หรือท้องโต เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วพฤติกรรมการรับประทานอาหารในปริมาณมากเกินไป เร่งรีบ บดเคี้ยวไม่ละเอียด ส่วนท้องอืดเรื้อรัง เกิดจาก 3 ภาวะ ได้แก่ ขาดเอนไซม์ย่อยนม แพ้สารอาหารประเภทนม, มีปริมาณแบคทีเรียในลำไส้มากเกิน และลำไส้แปรปรวน

ท้องผูก คือ เป็นอาการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติหรือถ่ายอุจจาระไม่ออกเป็นเวลานาน คือน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือน้อยกว่าปกติที่เคยเป็น ถ่ายอุจจาระออกได้ยาก ต้องใช้แรงเบ่งมากหรือใช้มือช่วยล้วง และอาจมีอาการเจ็บขณะถ่ายอุจจาระ โดยอุจจาระจะมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง เป็นเม็ดเล็กๆ ภาวะท้องผูกเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การใช้ยาที่ส่งผลข้างเคียงให้ท้องผูก, พฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ (อาทิ ไม่กินผัก, ดื่มน้ำน้อย, ไม่ออกกำลังกาย), มีโรคประจำตัว (อาทิ เบาหวาน, มะเร็งอุดกั้นลำไส้)

8-ways-to-do-far-away-flatulence-constipation

8 วิธีทำอย่างไรให้ห่างไกลอาการท้องอืด + ท้องผูก

  1. กินอาหารที่มีกากใยมากๆ เช่น ข้าวกล้อง ถั่ว ฟักทอง มะละกอ หลีกเลี่ยงการกินอาหารทำให้เกิดภาวะท้องอืด เช่น กรณีที่แพ้สารอาหารประเภทนม ให้เลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนย โยเกิร์ต ไอศกรีม
  2. กินอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากจนเกินไป เคี้ยวให้ละเอียด อย่ารีบเคี้ยวรีบกลืนจนเร็วไป
  3. หลังกินอาหารเสร็จ ไม่ควรนั่งหรือนอนเฉยๆ ควรเดินย่อยอาหารสักเล็กน้อย
  4. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว และทำงานได้ดีขึ้น
  5. ฝึกเข้าห้องน้ำขับถ่ายทุกเช้าให้เป็นกิจวัตร หากรู้สึกปวดอุจจาระให้เข้าห้องน้ำทันที อย่ากลั้นไว้
  6. ดื่มน้ำให้เพียงพอ งดดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีสารที่ทำให้ลำไส้บีบตัวน้อยลง
  7. กินอาหารเสริมจุลินทรีย์สุขภาพโปรไบโอติก Combif AR เพื่อช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ชนิดดีในทางเดินอาหาร ลดอาการท้องผูก ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารดีขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้
  8. พยายามลดความเครียดลง

ปกติแล้วท้องอืด-ท้องผูกเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมากนัก แต่หากเป็นนานเกิน 2 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพราะอาจเป็นสัญญาณแฝงของโรคอื่นได้ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *