2 ข้อแนะนำการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอสำหรับเบบี๋

0

“กิจกรรมทางกาย” คืออะไร?

มันก็คือ… การเคลื่อนไหวร่างกายใดๆ ที่มีการใช้กล้ามเนื้อแบ่งได้เป็น 3 ระดับตามการเคลื่อนไหว ได้แก่ ระดับเบา ระดับปานกลาง และระดับหนัก โดยกิจกรรมทางกายสำหรับทารกมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการสร้างพัฒนาการสมวัย และยังปลูกฝังนิสัยให้รักความกระฉับกระเฉง

ข้อแนะนำการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอสำหรับเด็กปฐมวัย คือ การให้เด็กได้เล่น และการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเป็นอิสระ โดยไม่เลี้ยงเด็กภายในคอกกั้นในห้องหรือในบ้านเท่านั้น แต่ให้เด็กได้มีโอกาสวิ่งเล่น ปีนป่าย หรือออกไปมีกิจกรรมทางกายนอกห้องนอกบ้าน นอกอาคาร โดยมีผู้ปกครองดูแล เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสขยับเคลื่อนไหวร่างกายพัฒนาทักษะทางกาย และลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง

การเคลื่อนไหวร่างกายของเบบี๋ที่พ่อแม่ควรรู้

2-tips-for-having-enough-physical-activity-for-baby

โดยหนังสือ ข้อแนะนำการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และการนอนหลับ

  1. มีกิจกรรมทางกายผ่านการเล่นที่หลากหลาย ในระดับเบา ปานกลาง และหนัก สะสมอย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน เน้นการเคลื่อนไหวพื้นฐาน เช่น คลาน ยืน เดิน วิ่ง กระโดด ขว้าง เตะ ปีน เป็นต้น โดยสามารถแบ่งการมีกิจกรรมทางกายออกเป็นช่วงๆ สะสม อย่างน้อยครั้งละ 10 นาทีได้ และมีกิจกรรมประเภทสร้างความแข็งแรง และอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ ผสมผสานไประหว่างการเล่น
  1. ลดการมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง เช่น นั่ง หรือนอน บนรถเข็น หรือเก้าอี้
  • ให้มีการเปลี่ยนอิริยาบถจากท่านั่ง หรือนอนราบ ทุกๆ 1-2 ชั่วโมง (ยกเว้นช่วงนอนหลับ) ด้วยการลุกยืน เดิน เล่น วิ่งเล่น
  • เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรให้เด็กดูโทรทัศน์ เล่นคอมพิวเตอร์ เล่นเกม เล่นมือถือ เพราะการที่เด็กมีพฤติกรรมเหล่านี้ นอกจากจะทำให้เด็ก ขาดการเคลื่อนไหวแล้ว ยังส่งผลเสียต่อพัฒนาการด้านภาษา ด้านการเรียนรู้และด้านสังคม
  • เด็กอายุตั้งแต่ 2-3 ปี สามารถให้ดูโทรทัศน์ เล่นคอมพิวเตอร์ เล่มเกม เล่นมือถือได้ แต่ไม่ควรเกิน 15-30 นาทีต่อวัน ถ้าให้ดีที่สุดคือ ไม่ควรให้เด็กเล่นเลย จนกว่าเด็กจะอายุครบ 3 ปี
  • เด็กอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป สามารถให้เด็กดูโทรทัศน์เล่นคอมพิวเตอร์ เล่มเกม เล่นมือถือได้ แต่ไม่ควรเกิน 30-60 นาทีต่อวัน ผู้ปกครองอาจจำกัดการเล่นได้เฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์ และหากิจกรรมอื่นทดแทน

กิจกรรมทางกายในวัยนี้จะเชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงของชีวิต รวมถึงสร้างเสริมนิสัยให้ติดตัวไปจนโต ดังนั้น อย่าคิดว่าลูกยังเล็กมาก ไม่จำเป็นต้องส่งเสริมกิจกรรมทางกายนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *