“ส้ม” ครองแชมป์ผลไม้มีสารพิษตกค้างมากสุด

0

การบริโภคผักและผลไม้วันละ 400 กรัม จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดัน

แต่การรับประทานที่จะส่งผลดีต่อร่างกายนั้น ต้องบริโภคผักผลไม้ที่มีความหลากหลาย และมีปริมาณเพียงพอที่ร่างกายควรได้รับที่สำคัญต้องเป็นผักผลไม้ที่ไม่มีสารพิษตกค้าง

ข้อมูลการสุ่มตรวจผักและผลไม้ช่วงวันที่ 14 ธันวาคม 2559 ถึง 5 มกราคม 2560 ของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยสำรวจจากตลาดค้าส่งของประเทศไทย ได้แก่ ส้ม มะม่วง ฝรั่ง เงาะ ลิ้นจี่ ลำไย แก้วมังกร และชมพู่ จำนวน 99 ตัวอย่างพบว่า…

ผลไม้สดที่ตรวจพบสารพิษตกค้างหลายชนิด ได้แก่

  1. ส้มพบสารพิษ 9 ชนิด
  2. แก้วมังกร 2 ชนิด
  3. ฝรั่ง 2 ชนิด
  4. มะม่วง 1 ชนิด
  5. มะละกอ 1 ชนิด

สำหรับผลไม้สดที่มีอัตราการตรวจพบการตกค้างมากกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ ส้ม แก้วมังกร ชมพู่ และลำไย ชนิดสารตกค้างที่มีอัตราการตรวจพบในผลไม้สดสูง คือ carbendazim ร้อยละ 34 และ cypermethrin ร้อยละ 23

Crate Full of Oranges

สำหรับ “คาร์เบนดาซิม” (carbendazim) เป็นสารเคมีในกลุ่มสารป้องกันและกำจัดเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคพืช ซึ่งเป็นสารเคมีชนิดดูดซึม มีพิษเมื่อถูกผิวหนัง ระคายเคืองต่อดวงตา และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม

ส่วน “ไซเปอร์เมทริน” (cypermethrin) เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ในการกำจัดแมลงเป็นสารที่ไม่ดูดซึมโดยอันตรายจากไซเพอร์เมทริน ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นตะคริวที่ท้อง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย รล้าปวดศีรษะ มึนงงหากได้รับในปริมาณมากๆ จะทำให้กล้ามเนื้อกระตุกและชักได้

ดังนั้น ก่อนรับประทานจึงควรล้างให้สะอาดด้วยวิธีล้างด้วยน้ำไหลผ่าน โดยนำผลไม้มาใส่ในตะกร้า หรือตะแกรงโปร่ง เปิดน้ำไหลผ่านความแรงพอประมาณ ระหว่างล้างให้ใช้มือถูไปมาบนผิวผลไม้ นานประมาณ 2 นาที ส่วนผักจำพวกคะน้า ผักกาดขาว ต้องเพิ่มขั้นตอนการเตรียมผักก่อน โดยแกะกลีบออกจากต้น คลี่ใบออก ก่อนจะนำมาแช่น้ำและทำเช่นเดียวกับการล้างผลไม้

ทั้งนี้ วิธีล้างด้วยน้ำไหลผ่าน สามารถลดสารตกค้างได้ร้อยละ 25 – 65แถมผักผลไม้ยังคงความสด ไม่ช้ำ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *