ความกงัวลอาจกลายเป็นความหวังใหม่! ผลการศึกษาพบ…
เมื่อคุณกังวลกับสถานการณ์ใหม่ นั่นอาจทำให้คุณจำสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ความวิตกกังวลมากเกินไปแม้ว่าอาจมีผลตรงกันข้ามโดยการเรียกคืนและทำให้ผู้คนจดจำรายละเอียดที่เป็นกลางในแง่ลบ โดยการศึกษานี้นั้นได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Brain Sciences ซึ่งได้กล่าวว่าความกังวลอาจเป็นเรื่องที่ดี Myra Fernandes ศาสตราจารย์วิชาจิตวิทยาที่ University of Waterloo ในประเทศแคนาดากล่าวว่า
“มันทำให้คุณรู้สึกตื่นตัวและทำให้คุณจำรายละเอียดที่บางทีคุณอาจไม่คิดว่าตัวเองจะจำได้ด้วยซ้ำ ซึ่งนั่นเป็นข้อดีที่ว่า หากภายหลังรายละเอียดเหล่านั้นเกิดสำคัญขึ้นมา”
ทั้งยังแสดงให้เห็นว่าความวิตกกังวลสามารถเปลี่ยนมุมมองที่ผู้คนจดจำเหตุการณ์ การโต้ตอบและการสนทนาจากอดีต และเมื่อระดับความวิตกกังวลสูงพอ จะยิ่งเพิ่มความสามารถในการดึงตัวเองออกจากเสียงรอบข้าง ผู้คน และจดจำสิ่งต่างๆ ได้ราวกับมีสมาธิมากขึ้น!
งานศึกษาได้ให้นักเรียนจิตวิทยาระดับปริญญาตรีจำนวน 80 คนที่ได้รับการคัดกรองเพื่อกำหนดระดับความวิตกกังวลในชีวิตประจำวัน โดยนักเรียนจะได้รับการจัดหมวดหมู่ว่ามีความวิตกกังวลแบบ “ต่ำ” หรือ “สูง” แม้ว่าทุกคนจะมีระดับที่สามารถจัดการได้ (ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความวิตกกังวลทางคลินิกได้รับการยกเว้นจากการศึกษา)
จากนั้นนักเรียนได้รับคำแนะนำให้ศึกษาชุดคำศัพท์เมื่อต้องดูคำต่างๆ ที่กระพริบบนหน้าจอคอมพิวเตอร์และตอบคำถามง่ายๆ เกี่ยวกับการสะกดหรือความหมาย บางคำแทนที่ด้วยภาพเชิงลบ เช่น ภาพอุบัติเหตุทางรถยนต์และบางภาพที่เป็นกลาง เช่น เรือหรือบ้าน
ซึ่งในการตอบคำถามต่างๆ นั้น ผลการศึกษาพบว่า…
คนทั่วไปจะตอบคำถามด้วยประสบการณ์ ส่วนหนึ่งที่มีความกังวลต่ำจะจำคำต่างๆ ได้ดีกว่า และกลุ่มที่จำได้ดีที่สุดคือกลุ่มที่มีความกังวลสูง
ทั้งนี้คุณ Fernandes เจ้าของผลการศึกษาครั้งนี้ยังได้สรุปรวมว่า “การตื่นเต้นเพียงเล็กน้อยนั้นดีกว่าการไม่รู้สึกตื่นเต้นเลย โดยเฉพาะในเหตุการณ์สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันต่างๆ หรือแม้แต่ในงานแต่งงาน เพราะการมีผีเสื้อตัวน้อยๆ บินวนในท้องคุณจะกระตุ้นให้คุณจำสิ่งต่างๆ ได้ดีมากขึ้น”
แล้วเพื่อนๆ ล่ะ คิดว่าการที่รู้จักกังวลมากกว่าชิวไปเสียทุกอย่างนั้นดีอย่างไร?