เมื่อข้อเท้าพลิกจัดการยังไงไม่ให้พลาด!!

0

“ข้อเท้าพลิก” เป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเล่นกีฬา เนื่องจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบข้อเท้าจะได้รับบาดเจ็บง่าย หรืออาจเกิดจากการเดินในที่พื้นผิวขรุขระ การบาดเจ็บอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยไปปจนถึงอาการรุนแรงที่ต้องได้รับการรักษาและคำแนะนำจากแพทย์

Woman having ankle pain

ความรุนแรงของข้อเท้าพลิกแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

ระดับที่ 1 : มีการยืดหรือขาดของเอ็นเพียงเล็กน้อย อาจพบเพียงอาการบวมและกดเจ็บบริเวณเอ็นที่ได้รับบาดเจ็บ

ระดับที่ 2 : มีการฉีกขาดของเอ็นเพียงบางส่วน (โดยปกติไม่เกินร้อยละ 50) ในกลุ่มนี้จะปวดและบวมค่อนข้างมากจนอาจจะทำให้เดินลงน้ำหนักไม่ค่อยได้

ระดับที่ 3 : ถือว่ารุนแรงที่สุด มีการฉีกขาดของเอ็นทั้งหมด ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้ และส่วนใหญ่พบมีความหลวมของข้อ

สำหรับการดูแลผู้มีอาการข้อเท้าพลิก มีดังนี้

  1. ห้ามให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวบริเวณที่เกิดการพลิกโดยเด็ดขาดเพราะ อาจมีส่วนของกระดูกแตกเกิดขึ้นได้ ให้หาไม้มาวางประคบแล้วใช้เชือกพันเป็นเฝือก หากจำเป็นต้องมีการเคลื่อนที่ควรใช้เปล หรือไม้เท้าขณะเดิน
  2. ลดการใช้งานของข้อที่ได้รับบาดเจ็บ ประคบเย็นเพื่อลดอาการปวดและบวม โดยใช้น้ำแข็งผสมน้ำประคบจนรู้สึกว่าชาแล้วเอาออก จากนั้นมาพบแพทย์ โดยเฉพาะกรณีที่ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้
  3. การประคบเย็น ให้ใช้น้ำแข็งผสมน้ำใส่ถุงพลาสติกห่อด้วยผ้าอีกชั้นหนึ่งแล้ววางลงบริเวณที่บาดเจ็บ ประมาณ 20 นาทีหรือจนมีความรู้สึกชา จึงเอาออก ทำทุก 2-4 ชั่วโมง เป็นเวลา 2-3 วัน การประคบเย็นเป็นการกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนช้าลง ทำให้เลือดหดตัวไหลเวียนไม่สะดวก ช่วยลดอาการปวดบวมลงได้
  4. ยกเท้าให้สูงเข้าไว้ หรือหาเก้าอี้มาหนุนขาให้สูงขึ้น เพื่อลดอัตราการหล่อเลี้ยงของเลือดไม่ให้เข้าไปยังบริเวณที่บวมได้สะดวก ขณะที่นอนก็ควรหาหมอนมาหนุนขาข้างที่มีอาการให้สูงกว่าระดับหัวใจ
  5. ห้ามใช้ยาหม่อง ครีมนวด หรือน้ำมันมวย เพราะตัวยาจะทำให้เกิดการกระตุ้นโลหิตให้ไหลเวียน เพิ่มอาการบวมมากขึ้น ทั้งตัวยายังมีฤทธิ์แสบร้อน ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บบริเวณที่พลิกมากขึ้น

การรักษาระยะแรกจะมุ่งเน้นเพื่อลดความเจ็บปวดและความบวม ได้แก่ การให้ยกขาสูง ประคบเย็น ให้ยาแก้ปวดและยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ การพันผ้ายืด และอาจใส่เฝือกกรณีบาดเจ็บรุนแรง ส่วนการรักษาในระยะต่อมาเป็นการกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของกล้ามเนื้อและความรู้สึกของเอ็นรอบข้อเท้า เพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ โดยทั่วไปใช้เวลา 4-6 สัปดาห์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *