อันตรายแค่ไหนถ้า ‘อั้นปัสสาวะ’ บ่อยๆ

0

โดยปกติคนเราต้องเข้าห้องน้ำเพื่อปัสสาวะประมาณวันละ 6-7 ครั้ง แต่หลายๆคนอาจมีความจำเป็นไม่สามารถเข้าห้องน้ำได้ทุกครั้งที่ปวดจำต้องฝืนทนต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาชีพการงานที่ต้องทำต่อเนื่อง อยู่ไกลห้องน้ำ หรือแม้แต่ความขี้เกียจ เมื่อบ่อยครั้งเข้าก็กลายเป็นความเคยชิน และกลั้นปัสสาวะจนติดเป็นนิสัย

แต่รู้หรือไม่ว่าการอั้นปัสสาวะบ่อยๆจะเกิดผลเสียมากมาย ลองมาดูกันว่าจะส่งผลกระทบต่อร่างกายแบบใดได้บ้าง

%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%aa%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%b0

กระเพาะปัสสาวะคนเรามีความจุไม่มาก

กระเพาะปัสสาวะของคนเรามีขนาดไม่ได้ใหญ่มากอีกทั้งสามารถจุน้ำได้เพียง 2 ถ้วย (หรือประมาณ 480 มิลลิลิตร) เท่านั้น ยิ่งเป็นของเด็กก็จะน้อยกว่านั้นอีกคือ 120 มิลลิลิตรเท่านั้น ดังนั้นเมื่อคนเราอั้นปัสสาวะมากๆกระเพาะปัสสาวะก็จะทำงานหนักเกินไปจนส่งผลกระทบต่อร่างกายหลายอย่าง ที่หนักที่สุดก็น่าจะเป็นอุ้งเชิงกราน กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเพราะทำหน้าที่ควบคุมการปัสสาวะ

สมองชินจนไม่สั่งให้ต้องไปเข้าห้องน้ำ

ยิ่งมีการอั้นปัสสาวะมากเท่าไร กระเพาะปัสสาวะก็จะยิ่งยืดออกไปมากขึ้น และสมองก็จะสูญเสียความสามารถในการรับรู้ว่าเมื่อไหร่ที่ต้องไปเข้าห้องน้ำได้ สุดท้ายเมื่อเป็นบ่อยๆกระเพาะปัสสาวะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆก็มีโอกาสที่จะวิ่งไปห้องน้ำไม่ทัน และอาจเกิดเหตุการณ์ปัสสาวะราดได้ โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ

อาจเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

โรคนี้มักเป็นโรคสุดฮิตของบรรดาสาวๆที่ชอบอั้นปัสสาวะ ซึ่งมีอาการต่างๆ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปวดแสบเวลาปัสสาวะ และปวดอุ้งเชิงกราน เป็นต้น หากคุณอั้นปัสสาวะบ่อยๆร่างกายจะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรียซึ่งทำให้เป็นโรคนี้ได้ในที่สุด

ปัญหาอื่นติดตามมา

ไม่ใช่โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบอย่างเดียวเท่านั้น หากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปอาศัยอยู่ในทางเดินปัสสาวะของคุณ อาจได้รับผลกระทบอื่นๆตามมา ไม่ว่าจะเป็น อาการไข้ ปวดตามตัว นอกจากนี้หากปัสสาวะเดินทางกลับไปยังท่อที่เชื่อมต่อกระเพาะปัสสาวะกับไตก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อและไตเสียหาย หากอั้นบ่อยๆในระยะยาวเนื้อเยื่ออีลาสติกก็จะเสียหายและถูกแทนที่ด้วยเนื้อเยื่อแผลเป็นซึ่งทำให้ไตเสียหายในเวลาต่อมา สุดท้าย กล้ามเนื้ออาจเกร็งแน่นตลอดเวลา


ไม่อยากให้เกิดผลพวงแย่ๆขนาดนี้ ปวดปัสสาวะเมื่อไรก็ไปห้องน้ำโดยเร็วดีที่สุด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *