รับมือ “วัยทอง” อย่างไรให้เป๊ะทั้งกายใจ

0

“วัยทอง” เป็นภาวะที่สตรีเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน มักพบในช่วงอายุระหว่าง 45-50 ปี ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านอารมณ์และร่างกาย ฉะนั้นสิ่งสำคัญ คือ ต้องรู้เท่าทัน เพื่อรับมืออย่างถูกต้อง จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงปัญหาสุขภาพและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้อยู่อย่างสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจค่ะ

ข้อมูลจาก นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า

เมื่อเข้าสู่วัยทอง ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงเสมือนเป็นสัญญาณแจ้งเตือนล่วงหน้า คือ ประจำเดือนเริ่มมาคลาดเคลื่อน หรือมากะปริบกะปรอย และประจำเดือนอาจหายขาดไปกว่า 1 ปี ก่อนจะหมดประจำเดือนอย่างถาวร

%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%a2%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87-1

หลังจากที่ผู้หญิงเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนแล้วจะเริ่มมีอาการต่างๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น ไม่มีประจำเดือน ร้อนวูบวาบ ไม่สบายตัว มีเหงื่อออกในตอนกลางคืน มีปัญหาเรื่องการนอน นอนน้อย นอนไม่หลับ ผิวแห้ง หนังศีรษะบาง ผมร่วง อ้วนขึ้น ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้น้อยลง ไม่มีสมาธิ อารมณ์แปรปรวน และหงุดหงิดง่าย โดยสาเหตุเกิดจากรังไข่ไม่มีการตกไข่ ทำให้ไม่มีการผลิตฮอร์โมนเพศอย่างเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนอีกต่อไป

นพ.มานัส โพธาภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กล่าวว่า

สาเหตุของวัยทองเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ การเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้น สภาพร่างกายย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลง ระบบต่างๆ ภายในร่างกายย่อมทำงานเสื่อมประสิทธิภาพลง เกิดจากการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติของรังไข่ อาจส่งผลต่อการไม่มีประจำเดือน รวมไปถึงการผ่าตัดรักษา เช่น การผ่าตัดเอารังไข่ทั้งสองข้างออกไป ทำให้เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือน หรือการทำเคมีบำบัด

แนวทางการดูแลตัวเองในช่วงวัยทอง

%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%a2%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%87-2

  1. ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  2. ลดการรับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน
  3. ควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม และงดสูบบุหรี่
  4. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอร่วมกับการทำสมาธิ
  5. พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อรักษาอารมณ์ให้เป็นปกติ
  6. รักษาภาวะช่องคลอดแห้ง ปรับสภาพให้เชื้อแลคโตบาซีลัสที่มีอยู่ในช่องคลอดกลับมามีจำนวนปกติ รวมถึงช่วยรักษาอาการระคายเคืองของช่องคลอด เช่น Gynoflor แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการใช้ยาต่างๆ เพื่อรักษาภาวะช่องคลอดแห้ง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัย หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่นี่ Yingyaihotline.com

ที่สำคัญควรหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ ทั้งนี้ หากมีอาการผิดปกติควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาอาการและรับการรักษาต่อไป ก่อนที่จะรุนแรงจนยากจะรักษานะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *