คาร์โนซีนคืออะไร หาจากไหนได้บ้าง ?
คาร์โนซีน (Carnosine) เป็นไดเปปไทด์หรือหน่วยย่อยของโปรตีนอย่างหนึ่ง ที่ประกอบขึ้นจากกรดอะมิโนจำเป็น 2 ชนิด คือ อะลานีน (alanine) และฮีสทิดีน (histidine) คาร์โนซีนเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างโปรตีนที่สำคัญในกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ และอวัยวะสำคัญ ๆ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ และสมอง โดยปกติถึงพบคาร์โนซีนในคนและสัตว์ ที่สำคัญคาร์โนซีนยังมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
ปัจจุบันเราสามารถเสริมคาร์โนซีนให้กับร่างกายได้หลัก ๆ สองรูปแบบ
รูปแบบแรกคือการ ได้รับผ่านการรับประทานเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ และปลาบางชนิด โดยคาร์โนซีนจะพบมากในเนื้อส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อยึดกระดูก (skeletal muscle) ซึ่งกว่าจะได้คาร์โนซีนร่างกายต้องใช้เวลาในการย่อยโปรตีน หรืออีกรูปแบบที่นิยม ในปัจจุบันเพราะสะดวก คือการได้รับโดยตรงจากการรับประทานเครื่องดื่มอาหารเสริม อย่าง ซุปไก่สกัดเข้มข้น เพราะเนื้อไก่ได้ผ่านกระบวนการสกัดทั้งความดันและความร้อน วิธีนี้ทำให้ดึงสารคาร์โนซีนออกมาได้เยอะ ได้คาร์โนซีนแบบเข้มข้น บรรจุขวดพร้อมดื่ม เมื่อรับประทานแล้วร่างกายสามารถ ดูดซึมเอาไปใช้บำรุงสมองได้เลย
ทำไมคาร์โนซีนถึงจำเป็นต่อร่างกาย
ถึงแม้คาร์โนซีนซึ่งเป็นไดเปปไทด์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในร่างกายของเรา มีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพ โดยเฉพาะสมอง แต่เมื่อเราอายุมากขึ้น ระดับคาร์โนซีนในร่างกายของเรามักจะลดลง การลดลงนี้ส่งผลสำคัญเนื่องจากคาร์โนซีนจำเป็นต่อการทำงานทางสรีระต่าง ๆ การซัพพอร์ตการทำงานของกล้ามเนื้อ การเพิ่มประสิทธิภาพการรับรู้ ความจำ และการส่งเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นการเสริมคาร์โนซีนจึงมีความสำคัญสามารถบรรเทาผลกระทบของต่าง ๆ ของอายุที่เพิ่มขึ้น และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ร่างกายคงประสิทธิภาพเอาไว้
ควรรับประทานคาร์โนซีนช่วงวัยไหน?
การเสริมคาร์โนซีนสามารถรับประทานได้อย่างสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องรอรับประทานเสริมเมื่ออายุมาก เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย หากรับประทานคาร์โนซีนอาหารเสริม ควรปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก หรือสำหรับผู้ที่เสริมคาร์โนซีนด้วยซุปไก่สกัด ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมไม่มีวัตถุกันเสีย ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล ไขมัน และคอเลสเตอรอล
ควรรับประทานคาร์โนซีนช่วงเวลาไหนดีที่สุด
ควรเป็นช่วงที่เรามีการทำกิจกรรมต่างๆ หรือช่วงที่ร่างกายเคลื่อนไหว ซึ่งเวลาที่ดีที่สุดในการทานคาร์โนซีนคือช่วงเช้า หรือหลังตื่นนอนนั่นเอง เนื่องจากหลังจากตื่นนอน ร่างกายจะดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้ทันที หรือรับประทานคาร์โนซีนร่วมกับอาหารมื้อแรกของวันได้เช่นกัน เพื่อเสริมให้ร่างกายดูดซึมคาร์โนซีนได้ดียิ่งขึ้นพร้อมทำกิจกรรมตลอดทั้งวัน
ประโยชน์ของคาร์โนซีน
- เพิ่มประสิทธิภาพของสมองให้ทำงานเต็มประสิทธิภาพ คาร์โนซีนมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง และระบบประสาท รวมถึงความสามารถในการจดจำ และการทำงานของสมองส่วนหน้า ลดอาการล้าของสมอง
- เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันสมองและหัวใจ รวมถึงลดความเสียหายจากการอักเสบของเซลล์ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย ลดความเสื่อมถอยที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของอนุมูลอิสระ
- ลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ คาร์โนซีนช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทและสมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคความจำเสื่อม
- บำรุงหลอดเลือด คาร์โนซีนช่วยให้การไหลเวียนเลือดสู่สมองทำงานได้เป็นปกติ ทำให้สมองได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ผลทดลองคาร์โนซีนเกี่ยวกับความจำ
ปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการเสริมคาร์โนซีนอยู่หลายชิ้น ยกตัวอย่างเช่นการทดลองประสิทธิภาพในด้านการเสริมความจำเหตุการณ์ทางวาจา (Verbal Episodic Memory) ในผู้สูงอายุ ใช้วิธีการแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มที่ได้อาหารเสริมหลอก และกลุ่มที่ได้รับคาร์โนซีนเป็นประจำ เป็นเวลา 3 เดือน ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า คาร์โนซีนช่วยรักษาความจำเหตุการณ์ทางวาจา และการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดสมองในกลุ่มทดลองที่ได้รับคาร์โนซีนเป็นประจำ
สำหรับวัยเรียน วัยทำงานที่ต้องใช้สมองมาก ๆ อาจทำให้เกิดอาการสมองล้า ความจำไม่ดี การได้รับคาร์โนซีนอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอทุกเช้า จะให้การทำงานของสมองทั้งในด้านความจำ การคิด และตัดสินใจ มีประสิทธิภาพ ช่วยลดภาวะสมองล้า ที่เกิดจากความเครียด ทำให้การเรียนการทำงานมีประสิทธิภาพ
Reference,
Hisatsune, T., Kaneko, J., Kurashige, H., Cao, Y., Satsu, H., Totsuka, M., Katakura, Y., Imabayashi, E., & Matsuda, H. (2016). Effect of Anserine/Carnosine Supplementation on Verbal Episodic Memory in Elderly People. Journal of Alzheimer’s disease : JAD, 50(1), 149–159. https://doi.org/10.3233/JAD-150767
Hata, J., Ohara, T., Katakura, Y., Shimizu, K., Yamashita, S., Yoshida, D., Honda, T., Hirakawa, Y., Shibata, M., Sakata, S., Kitazono, T., Kuhara, S., & Ninomiya, T. (2019). Association Between Serum β-Alanine and Risk of Dementia. American journal of epidemiology, 188(9), 1637–1645. https://doi.org/10.1093/aje/kwz116