ซื้ออาหาร Take Away-Delivery อย่างไร ไม่ให้เสี่ยงโควิด-19

0

ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่กลัวการอยู่ท่ามกลางคนหมู่มาก เพราะเกรงว่าจะเสี่ยงรับเชื้อ เรียกว่าถ้าไม่จำเป็น ก็แทบจะไม่ออกนอกบ้านกันเลยทีเดียว แต่ถึงจะกลัวแค่ไหน เรื่องปากท้องย่อมสำคัญ หลายคนจึงเลือกซื้ออาหารจากร้านโปรดแบบ Take Away และ Delivery

70

 

วิธีซื้ออาหารกลับบ้านด้วยตัวเอง (Take Away)

  1. หลีกเลี่ยงการสั่งซื้ออาหารกลุ่มเสี่ยง เช่น อาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือเครื่องในสัตว์ที่ปรุงไม่สุก อาหารที่เน่าเสียง่าย อาหารที่ปรุงด้วยนม อาหารที่ใช้มือสัมผัสมาก อาหารที่มีส่วนประกอบของ กะทิ นม ควรนำไปอุ่นร้อนก่อนรับประทาน
  2. โทรสั่งอาหารล่วงหน้า โดยสอบถามทางร้านว่าใช้เวลาประมาณกี่นาทีในการจัดเตรียม เพื่อจะได้ไม่ต้องไปเสียเวลายืนรอ ช่วยลดโอกาสการพบปะผู้อื่นในพื้นที่สาธารณะ
  3. ใส่หน้ากากอนามัยเพื่อช่วยลดความเสี่ยงการติดโรค และควรสวมเสื้อผ้ามิดชิด เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น เพราะเสื้อผ้าเป็นปราการด่านแรกที่ป้องกันผิวหนังของเรากับสิ่งแวดล้อมได้ดี
  4. พกเจลล้างมือติดตัวไว้เสมอ เนื่องจากบางสถานที่หาที่ล้างมือยากมาก จึงควรพกเจลล้างมือที่มีปริมาณแอลกอฮอล์สูงกว่า 70% เพื่อให้ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อใน 30 วินาที ใช้เจลทำความสะอาดมือทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
  5. ตรวจสอบคุณภาพอาหารก่อนบริโภค เช่น ความสะอาด สภาพอาหารต้องไม่มีกลิ่นบูดเสีย บรรจุในภาชนะที่สมบูรณ์ หากพบว่าไม่ร้อน ควรนำไปอุ่นให้ร้อนก่อนรับประทาน
  6. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือ ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร

 

วิธีสั่งอาหารเดลิเวอรี่ (Food Delivery)

  1. หลีกเลี่ยงการสั่งซื้ออาหารกลุ่มเสี่ยง เช่น อาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือเครื่องในสัตว์ที่ปรุงไม่สุก อาหารที่เน่าเสียง่าย อาหารที่ปรุงด้วยนม อาหารที่ใช้มือสัมผัสมาก อาหารที่มีส่วนประกอบของ กะทิ นม ควรนำไปอุ่นร้อนก่อนรับประทาน
  2. ในช่วงเวลาเร่งด่วน มักมีผู้สั่งอาหารเดลิเวอรี่จำนวนมาก ส่งผลให้ผู้รับออเดอร์ดำเนินการช้ากว่าเวลาที่คุณต้องการ จึงควรเผื่อเวลาในการสั่ง และเลือกร้านที่อยู่ใกล้กับที่อยู่อาศัย เพื่อจะได้รับบริการที่ดีที่สุด
  3. ปฏิเสธการรับช้อนจากทางร้าน โดยใช้ช้อนของตัวเองที่มีอยู่ในบ้านแทน เพื่อลดความเสี่ยงการสัมผัสช้อนส้อมจากผู้อื่น รวมถึงเป็นการช่วยลดการใช้พลาสติก
  4. เลือกชำระด้วยบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต เพื่อช่วยลดระยะเวลาการการทอนเงิน และลดการสัมผัสธนบัตร แต่ถ้าไม่สะดวก ต้องการชำระค่าอาหารด้วยเงินสดควรเตรียมเงินสดใส่ซองอย่างพอดีแล้วยื่นให้พนักงานเพื่อไม่ต้องรับเงินทอน
  5. สวมหน้ากากอนามัยระหว่างการรับอาหารจากคนขนส่งอาหาร รวมถึงลดการรับสิ่งของจากพนักงานส่ง ด้วยการติดป้ายแขวนไว้หน้ารั้ว หรือวางโต๊ะหรือเก้าอี้ไว้หน้าบ้านสำหรับเป็นจุดรับของ เพื่อลดการสัมผัสบริเวณปากถุง
  6. 6. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือ หลังการรับอาหารจากคนขนส่งอาหาร รวมถึงก่อนรับประทานอาหาร
  7. ตรวจสอบคุณภาพอาหารก่อนบริโภค เช่น ความสะอาด สภาพอาหารต้องไม่มีกลิ่นบูดเสีย บรรจุในภาชนะที่สมบูรณ์ หากพบว่าไม่ร้อน ควรนำไปอุ่นให้ร้อนก่อนรับประทาน

 

นอกจากนี้ เมื่อรับประทานอาหารเสร็จ หลังจากจัดการเศษอาหารแล้ว ควรทิ้งถุงพลาสติกและบรรจุภัณฑ์ให้มิดชิด โดยใส่รวมใส่ถุงขยะแล้วมัดปากถุงให้สนิท ป้องกันหนู หรือแมลงเข้าไปแพร่เชื้อ

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *