4 วิตามินใส่ใจ สร้างความแข็งแกร่งให้คนรักงาน

0

เพราะ…

“สมองและร่างกาย”

เป็นขุมกำลังสำคัญของคนวัยทำงาน ฉะนั้นควรให้ความสำคัญกับวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยบำรุงสมองและร่างกาย เพื่อให้มีพร้อมทั้งการงานที่ก้าวหน้า ฐานะที่มั่นคง และสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง

วิตามินบี

4 vitamin attentive strengthen officer (2)

มีหลายชนิด ทั้งมีหน้าที่ในการบำรุงสมองและเสริมสร้างพลังงานให้ร่างกายดังนี้

  1. วิตามินบี 1 ความต้องการวิตามินบี 1 ขึ้นอยู่กับความต้องการพลังงานของร่างกาย หากทำงานหนักโดยเฉพาะต้องออกแรงหรือใช้แรงกายมาก ร่างกายยิ่งต้องการวิตามินบี 1 มาก หากขาดอาจทำให้การทำงานของระบบประสาทผิดปกติ ส่งผลให้เป็นโรคเหน็บชา
    2. วิตามินบี 2 ช่วยบำรุงนัยน์ตา หากขาดจะทำให้เคืองตา ตาไม่สู้แสง น้ำตาไหล แสบ คันที่บริเวณตาและมองภาพไม่ชัด
  2. วิตามินบี 3 (ไนอะซิน) ช่วยในการทำงานของเส้นประสาทสมองส่วนปลาย ป้องกันอาการปวดศีรษะ
  3. วิตามินบี 6 จำเป็นต่อกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยป้องกันโรคผิวหนังและโรคทางระบบประสาท

ปริมาณที่ควรได้รับใน 1 วัน

อายุ 19-59 ปี ต้องการวิตามินบี 1 วันละ 1.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 วันละ 1.3 มิลลิกรัม ไนอะซิน 16 มิลลิกรัม และวิตามินบี 6 วันละ 1.3-1.7 มิลลิกรัม สำหรับผู้หญิงอายุ 19-59 ปี ต้องการวิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 วันละ 1.1 มิลลิกรัม ไนอะซิน 14 มิลลิกรัมและวิตามินบี 6 วันละ 1.3-1.5 มิลลิกรัม

โฟเลต

4 vitamin attentive strengthen officer (1)

จำเป็นสำหรับหญิงมีครรภ์ ช่วยถ่ายทอดพันธุกรรมจากแม่สู่ทารกในครรภ์ หากขาดโฟเลตในระยะนี้ทารกในครรภ์อาจเสี่ยงพิการ มีอาการปากแหว่งเพดานโหว่ และป่วยเป็นโรคหลอดประสาทไขสันหลังผิดปกติ

นอกจากนี้การขาดโฟเลตอาจทำให้โคเอนไซม์ทำหน้าที่สังเคราะห์ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ น้อยลง ส่งผลให้การเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของนิวแคลียสช้ากว่าปกติ เกิดโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่กว่าปกติ

ปริมาณที่ควรได้รับใน 1 วัน

ชายและหญิง อายุ 19-59 ปี ต้องการโฟเลตวันละ 400 ไมโครกรัม สำหรับหญิงตั้งครรภ์ต้องการโฟเลตวันละ 600 ไมโครกรัม

โอเมก้า-3

4 vitamin attentive strengthen officer (4)

เหมาะสำหรับคนวัยทำงานเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆ ที่เกิดจากการอักเสบของร่างกาย โดยมีผลมาจากการกินและกิจวัตรประจำวันที่ทำลายสุขภาพ เช่น กินอาหารไขมันสูง สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย  โอเมก้า -3 มีประโยชน์ในการป้องกันโรคหลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง โรคหืด โรคซึมเศร้า โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ เพราะมีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้โรคดังกล่างลุกลาม

ปริมาณที่ควรได้รับใน 1 วัน

สมาคมโรคหัวใจ ประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำให้กินปลา โดยเฉพาะปลาที่มีไขมันสูง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 200 กรัม ร่วมกับไขมันจากพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง ถั่วเมล็ดแห้ง วอลนัท แฟลกซ์ซี้ด

สำหรับผู้ที่มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงในช่วง 150-199 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แนะนำให้กินโอแมก้า -3 ชนิดกรดไขมันอีพีเอและดีเอชเอ 0.5-1 กรัม โดยต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน

แคลเซียม

dv1897074

หลังอายุ 35 ปี อัตราการสลายมวลกระดูกจะมากกว่าการสร้าง โดยเฉพาะผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนประมาณ 50 ปี จะพบการสลายมวลกระดูกมากกว่าผู้ชายในวัยเดียวกัน โดยมีอัตราการสลายสูงสุดปีละ 3-5 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้เครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของกาเฟอีน ซึ่งคนวัยทำงานดื่มเป็นประจำ เช่น กาแฟ น้ำอัดลม ยังมีผลเร่งการสลายแคลซียมจากกระดูกและลดประสิทธิภาพในการดูดซึม ฉะนั้นหากคนวัยนี้ได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพออาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน

ปริมาณที่ควรได้รับใน 1 วัน

ชายและหญิง อายุ 19-50 ปี ต้องการแคลเซียมวันละ 800 มิลลิกรัม ส่วนชายและหญิง อายุ 51-60 ปี ต้องการแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม

 

ใส่ใจสุขภาพของตัวเองเพื่อคุณภาพชีวิตและงานจะได้ออกมาดีด้วยนะคะ

 

 

ที่มา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *