อาการปวดท้อง (Abdominal pain) ที่เกิดขึ้นบริเวณระหว่างหน้าอกและบริเวณอุ้งเชิงกราน อาการปวดท้องอาจเป็นตะคริว, ปวด, ปวดแบบเป็นระยะ ๆ รวมๆ แล้วเรียกว่าปวดท้อง การอักเสบหรือโรคที่มีผลต่ออวัยวะในช่องท้องอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องได้ อวัยวะสำคัญที่อยู่ในช่องท้อง เช่น
- ลำไส้ (เล็กและใหญ่)
- ไต
- ม้าม
- กระเพาะอาหาร
- ถุงนำ้ดี
- ตับ
- ตับอ่อน
อาการปวดมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับอาการและเงื่อนไขของโรค แต่สิ่งที่หลายคนสงสัยคือ แล้วปวดท้องแบบไหนที่เราควรต้องรีบไปหาหมอ? มาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน
อาการปวดท้องเล็กน้อยอาจหายไปโดยไม่ต้องรักษา อย่างไรก็ตามในบางกรณีอาการปวดท้องอาจต้องหาคุณหมอเพื่อตรวจสอบอาการ หากอาการปวดท้องรุนแรงและสัมพันธ์กับการบาดเจ็บ (จากอุบัติเหตุ) หรือความดันหรือปวดที่หน้าอก ยิ่งเป็นกรณีฉุกเฉินที่ต้องไปพบแพทย์ทันที
เพื่อนๆ ควรไปพบแพทย์ทันทีหากอาการปวดรุนแรงจนไม่สามารถนั่งนิ่ง ๆ หรือต้องขดตัวเป็นลูกบอลเพื่อให้รู้สึกสบาย หรือถ้ามีอาการต่อไปนี้
- อุจจาระเป็นเลือด
- ไข้สูง (มากกว่า 38°C)
- อาเจียนเลือด
- คลื่นไส้หรืออาเจียนแทบตลอดเวลา
- ตาเหลือง หรือผิวเริ่มเหลือง
- บวมรุนแรงบริเวณช่องท้อง
- หายใจลำบาก
- ปวดท้องนานกว่า 24 ชั่วโมง
- ท้องผูกเป็นเวลานาน
- รู้สึกแสบร้อนเมื่อปัสสาวะ
- ไม่อยากอาหาร
- น้ำหนักลงอย่างหาสาเหตุไม่ได้
อย่างไรก็ดี เราไม่สามารถป้องกันอาการปวดท้องได้ทุกรูปแบบ แต่สามารถลดความเสี่ยงของอาการปวดท้องได้โดยทำการกินอาหารเพื่อสุขภาพ ดื่มน้ำบ่อยๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพยายามกินมื้อเล็ก ๆ