“ไข้สมองอักเสบเวสต์ไนล์” โรคร้ายที่มียุงเป็นพาหะ

0

แม้จะเป็นโรคที่ไกลตัวเพราะปัจจุบันยังไม่พบรายงานผู้ป่วยโรคนี้ในประเทศไทย และโอกาสที่โรคจะแพร่จากต่างประเทศมาสู่ไทยเกิดขึ้นได้น้อยแต่ “ไข้สมองอักเสบเวสต์ไนล์” ก็ยังเป็นโรคที่คุณไม่ควรมองข้าม เนื่องจากเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ระหว่างสัตว์ และคน ที่สำคัญคือยังไม่มียารักษาเฉพาะ

โรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัสเวสต์ไนล์ (West Nile Fever)

เกิดจากเชื้อไวรัสเวสต์ไนล์ ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับโรคไข้สมองอักเสบและไข้เลือดออก โดยทั่วไปเชื้อไวรัสเวสต์ไนล์ทำให้เกิดโรคในนก แต่สามารถติดต่อไปยังค้างคาว ม้า แมว สุนัข กระรอก กระต่าย และคนได้เช่นกัน เชื้อไวรัสสามารถติดต่อได้โดยมียุงเป็นพาหะ ยุงได้รับเชื้อจากการกินเลือดนกที่มีเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกาย จากนั้นยุงที่มีเชื้อไวรัสจะสามารถแพร่เชื้อไปยังคนและสัตว์อื่นที่ถูกยุงกัดได้ แต่อาจจะไม่ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกยุงกัดติดเชื้อทุกครั้ง

west-nile-fever

คนติดเชื้อไวรัสเวสต์ไนล์ได้จากการถูกยุงที่เป็นพาหะกัด พบว่ามีบางรายที่ติดเชื้อจากการถ่ายเลือด ปลูกถ่ายอวัยวะ การให้นมลูกและจากแม่สู่ลูกในช่วงตั้งครรภ์ ระยะฟักตัวของโรคคือ ตั้งแต่รับเชื้อจนกระทั่งแสดงอาการคือ ประมาณ 5-15 วัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการป่วย หรือจะมีอาการแบบไม่รุนแรง เช่น มีไข้ ปวดหัว ปวดตามร่างกาย คลื่นไส้ อาเจียน อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้นเองโดยไม่ต้องได้รับการรักษา

แต่ในบางรายและในผู้สูงอายุ อาจแสดงอาการไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง คอแข็ง มึนงง ตัวสั่น ชัก หมดสติ สูญเสียการมองเห็น กล้ามเนื้ออ่อนแรง และเป็นอัมพาต

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไวรัสเวสต์ไนล์สำหรับคน (มีแค่วัคซีนสำหรับม้า) ฉะนั้นวิธีป้องกันไวรัสเวสต์ไนล์ที่ดีที่สุด คือ การป้องกันการถูกยุงกัด โดยกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง นอนในมุ้งหรือในห้องที่มีมุ้งลวดปิด ใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด หรือใช้ยาทากันยุง หลีกเลี่ยงการเปิดไฟหรือใช้แสงภายในคอกให้น้อยที่สุดในช่วงเย็นและกลางคืน หรือเปิดหลอดไฟให้แสงสว่างไว้นอกคอกเพื่อล่อยุงให้อยู่ห่างจากตัวม้า

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *