ถ้ามลพิษในอากาศสูง “ออกกำลังกาย” ยังช่วยลดเสี่ยงโรคหัวใจหรือไม่?

0

แม้ในพื้นที่ๆ มีมลพิษจากการจราจรปานกลางถึงสูง “การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ” ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอาการหัวใจวายได้ตามการวิจัยใหม่ในวารสาร American Heart Association, วารสารการค้นคว้าการเปิดเสรีของ American Heart Association / American สมาคมโรคหลอดเลือดสมอง แต่มีสิ่งที่น่าสนใจจากงานวิจัยนี้ที่เฮียอยากให้เพื่อนๆ ได้ลองอ่านกัน

“เรารู้กันเป็นอย่างดีอยู่แล้วว่า การออกกำลังกาย ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ในทางตรงกันข้าม มลพิษในอากาศนั้นเพิ่มความเสี่ยงของโรคดังกล่าว และเมื่อคุณออกกำลังกาย หรือมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวในพื้นที่ๆ มีมลพิษสูง ปัจจัยนี้จะทำให้การผลประโยชน์จากการออกกำลังกายลดลง”

Nadine Kubesch, Ph.D. , ผู้เขียนนำและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ได้กล่าวถึงผลการวิจัยที่พบใหม่นั่นเอง

poor_air_affect_on_heart_health_or_not

นักวิจัยในเดนมาร์ก เยอรมนีและสเปน ประเมินระดับการออกกำลังกายกลางแจ้ง (กีฬาขี่จักรยาน เดินและทำสวน) และการสัมผัสกับไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2 มลภาวะที่เกิดจากการจราจร) ในผู้ใหญ่ 51,868 คน อายุระหว่าง 50-65 ปี เปรียบเทียบกิจกรรมที่รายงานและปัจจัยการดำเนินชีวิตกับอาการหัวใจวาย ในช่วง 17.7 ปี มีอาการอาการหัวใจวาย 2,936 ครั้ง

โดยระดับการสัมผัสกับ NO2 เฉลี่ย 18.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (μg / m3) โดยเฉลี่ย 18.7 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตรซึ่งอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ NO2 ของสหภาพยุโรปในปัจจุบัน (50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรตลอด 24 ชั่วโมง) และศาสตราจารย์ Kubesch ได้กล่าวเพิ่มเติมไว้ด้วยว่า

“การศึกษาของเราแสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายแม้ในระหว่างการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศในเมืองที่มีระดับใกล้เคียงกับเมืองโคเปนเฮเกน สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายได้”

และงานวิจัยนี้ยังสนับสนุนหลักฐานเดิมที่มีการสรุปว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แม้ในระดับปานกลางก็เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพได้เหมือนกัน งานนี้แม้ว่าในอากาศจะมีมลพิษก็ไม่ได้หมายความเราต้องเลิกออกกำลังกายไปเลย เรายังคงต้องเพิ่มการเคลื่อนไหวให้ตัวเยอะๆ อยู่เสมอ!

ที่มา: Poor air quality does not offset exercise’s heart benefits โดย American Heart Association, Sciencedaily.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *