“โรคถุงน้ำในรังไข่” โรคอันตรายที่ผู้หญิงต้องระวัง

0

“โรคถุงน้ำในรังไข่” (PCOS – Polycystic Ovary Syndrome) เป็นความผิดปกติของคุณผู้หญิง โดยเกิดมีถุงน้ำเล็กๆ กระจายอยู่ในรังไข่ ชาวบ้านทั่วไปอาจเรียกว่ามีซีสต์ในรังไข่ โรคนี้พบได้ค่อนข้างบ่อย ประมาณหนึ่งในสิบของสตรีวัยเจริญพันธุ์จนถึงอายุ 45 ปี ป่วยด้วยโรคนี้

ทั้งนี้ เนื่องจากรังไข่ทำหน้าที่เป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนหลายชนิด ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับรังไข่ มีผลกระทบเป็นลูกโซ่ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนอื่นๆ ในร่างกายไม่สมดุลและเป็นสาเหตุให้เกิดความผิดปกติในระบบอื่นๆ ของร่างกาย โดยพบว่ามากกว่าร้อยละ 50 ของคุณผู้หญิงที่มีถุงน้ำในรังไข่ มีระดับฮอร์โมนอินซูลินในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ (Hyperinsulinemia) และร่างกายตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินน้อยกว่าปกติ (Insulin resistance) ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงและเกิดภาวะเบาหวานตามมา

“โรคถุงน้ำในรังไข่” โรคอันตรายที่ผู้หญิงต้องระวัง

PCOS พบได้ทั่วไปในผู้หญิงที่มีประจำเดือนไม่ปกติแล้วมีไข่โตเต็มที่พร้อมผสมพันธุ์ แต่ไข่กลับไม่ตกกลายเป็นประจำเดือน แต่ละครั้งที่อาการกำเริบ คืออาจจะมีไข่หลายใบเกิดค้างในท้อง ค้างรังไปเรื่อยๆ และส่งผลให้น้ำในมดลูกมีปริมาณเพิ่มขึ้น ท้องบวม คล้ายตั้งครรภ์ 1-2 เดือน กรณีคนมีปัญหาเกิดโรคนี้บ่อยๆ จะส่งผลต่อการมีบุตรในอนาคต

สำหรับอาการของผู้ป่วย คือ ปวดเสียด ปวดบิด หรือปวดถ่วง อาจทำให้เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ หากถุงน้ำมีขนาดโตก็อาจจะคลำก้อนได้ในท้อง หรือสัญญาณอื่นๆ เช่น ปวดท้องน้อยถ่ายปัสสาวะบ่อย ถ่ายอุจจาระลำบากในส่วนของความผิดปกติภายนอกร่างกายที่สามารถสังเกตุเห็นได้ง่าย เช่น การมีภาวะอ้วนกว่าปกติ อาจมีผิวมัน มีสิวขึ้นบริเวณใบหน้าและตามลำตัวมากกว่าผู้หญิงทั่วไป มีขนขึ้นดกบริเวณแขน ลำตัว ต้นขาและขาหนีบ รวมทั้งผิวหนังอาจเป็นปื้นสีเข้มกว่าปกติโดยเฉพาะบริเวณข้อพับ คอ แขนและขา นอกจากนี้ ความไม่สมดุลของฮอร์โมนยังมีผลต่ออารมณ์และจิตใจด้วย โดยอาจมีอาการซึมเศร้าหรือมีความกังวลต่อเรื่องต่างๆ มากกว่าปกติ นอนหลับไม่สนิท ส่งผลให้ง่วง ซึมหรือหงุดหงิดในช่วงเวลากลางวัน

โรคถุงน้ำในรังไข่สามารถหายได้เองโดยไม่ต้องกินยา โดยจะหายได้ใน 2-3 เดือนส่วนการรักษาก็ให้กินยาลดอาการปวดท้องไปจนกว่าไข่จะฝ่อแม้โรคนี้จะหายเองได้ แต่เพื่อความปลอดภัยหากปวดท้องรุนแรง-ผิดปกติ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันทีนอกจากนี้การปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น การควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ร่วมกับการรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำ จะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวลงได้อย่างมาก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *