หลับกลางวัน นอนไม่เป็นเวลา เสี่ยงอัลไซเมอร์มากกว่า!

0

หลายคนมองว่าเรื่อง “โรคอัลไซเมอร์” เป็นเรื่องไกลตัวและอาจพบได้แต่ในกลุ่มของผู้สูงอายุ แต่อย่าลืมกันนะครับว่า… ไม่มีใคร ไม่แก่!

นักวิจัยต่างทราบกันเป็นอย่างดีอยู่แล้วว่า มันบอกได้ยากที่จะกล่าวว่าอัลไซเมอร์เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง ปัจจัยทางพันธุกรรมมีส่วนทำให้เกิดความผิดปกติทางสมอง ส่งผลต่อหน่วยความจำ หรือแม้แต่กระบวนการทางชีววิทยาอย่างวัยที่สูงขึ้นก็จะมีบทบาทเช่นกัน แต่ในผลการศึกษาล่าสุดให้อะไรที่เราอาจไม่เคยได้คิดมาก่อนครับ

การหลับระหว่างวันอาจส่งผลต่อความเสี่ยงในการเป็นอัลไซเมอร์

disrupted-sleep-risk-to-alzheimer

นี่ผลสรุปส่วนหนึ่งของผลงานการศึกษาของ Diego Z. Carvalho และคณะที่ได้รับการเผยแพร่ใน JAMA Neurology 

Prashanthi Vemuri ศาสตราจารย์ด้านรังสีวิทยาที่ Mayo Clinic ได้กล่าวว่า การศึกษานั้นแสดงให้เห็นว่าคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์มีแนวโน้มที่มีการนอนหลับแบบไม่สมเหตุสมผล หรือนอนไม่เป็นเวลา การศึกษาทางชีววิทยาได้เปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ว่าในขณะที่สมองนอนหลับจะช่วยลดการสะสมของโปรตีน amyloid ซึ่งเป็นโปรตีนที่สร้างและบีบเซลล์ประสาทในโรคอัลไซเมอร์ แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่า amyloid จะนำไปสู่การนอนหลับที่หยุดชะงักหรือว่าเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการนอนหลับมีส่วนช่วยในการสะสมของโปรตีนหรือไม่

กว่าผู้ทดสอบในผู้ใหญ่ 3,000 คน ทีมได้เลือกผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปีที่ไม่มีแนวโน้มในเรื่องของภาวะสมองเสื่อม พวกเขาตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมการนอนและได้ลองสแกนสมองเพื่อดูสาร amyloid โดยทำการตรวจเช็คตลอดยาวนานกว่า 7 ปีในการทดสอบ

พบว่า 22% ของผู้เข้ารับการทดสอบมีปัญหาเรื่องความง่วงนอนตอนกลางวัน และมีสัญญาณของการนอนอย่างไม่เป็นเวลา เมื่อทีมผู้ศึกษาได้ลองเปรียบเทียบสมองของอาสาสมัครตั้งแต่เริ่มต้นจนจบการทดลอง พบว่า…

คนที่รายงานว่ามีอาการง่วงนอนในตอนกลางวันมากเกินไปเมื่อเริ่มการศึกษามีแนวโน้มที่จะแสดงการเพิ่มขึ้นของ amyloid ในสมอง ในขณะที่การศึกษาดำเนินไป คนเหล่านี้ยังมีแนวโน้มที่จะแสดงการสะสมโปรตีนได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่ได้รายงานอาการง่วงนอนในเวลากลางวัน ยิ่งไปกว่านั้น amyloid มีน้ำหนักมากที่สุดในพื้นที่สมอง ได้แก่ anterior cingulate และ cingulate precuneus ซึ่งโดยปกติจะมีระดับ amyloid ในคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์สูงนั่นเอง

แบบนี้จึงอาจสรุปได้ว่า คนที่มีปัญหาการนอนอย่างไม่เป็นระเบียบหรือนอนไม่เป็นเวลานั้นมีผลต่อการสร้าง amyloid ในสมองซึ่งเป็นสารที่อาจทำให้เกิดภาวะอัลไซเมอร์ได้นั่นเอง แบบนี้แล้วเพื่อนอาจต้องปรับปรุงการนอนของตัวเองให้มากถ้าไม่อยากให้ช่วงอายุที่มากขึ้นต้องประสบกับปัญหาโรคอัลไซเมอร์ เพราะ Prashanthi Vemuri ผู้ศึกษางานวิจัยนี้ได้ทิ้งท้ายอย่างน่าสนใจว่า

“เราหวังให้ผู้คนเข้าใจถึงการนอนอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้สมองสุขภาพดี”

ช่วงเพื่อนๆ นอนเป็นเวลาหรือเปล่า?

ที่มา: Being Sleepy During the Day Could Be a Warning Sign of Alzheimer’s โดย ALICE PARK, Time.com

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *