“คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม” โรคฮิตของคนติดจอ

0

เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพของคนวัยทำงานที่กำลังฮอตฮิตไม่แพ้ “โรคออฟฟิศซินโดรม” สำหรับ “โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม” ด้วยรูปแบบการทำงานในสังคมยุคดิจิตอลที่ทุกคนต้องทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องยาวนานแทบไม่ได้ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกาย

รวมถึงรูปแบบการใช้ชีวิตและการติดต่อสื่อสารด้วยแอปพลิเคชันไลน์หรือเฟซบุ๊กผ่านทางสมาร์ทโฟน รวมถึงการท่องอินเตอร์เน็ตผ่านทางคอมพิวเตอร์ แท็บแล็ต และสมาร์ทโฟน

“โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม”

cvs (1)

หรือ ซีวีเอส (Computer Vision Syndrome : CVS) คืออาการของคนที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน 2–3 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น ทำให้มีอาการไม่สบายตัวเช่น แสบตา ปวดตาตาแห้ง ตามัว ตาพร่า เกิดภาพเบลอหรือภาพซ้อนตาแดง น้ำตาไหล และบ่อยครั้งจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง จากการนั่งที่ไม่ถูกวิธีร่วมด้วยซึ่งระดับความรุนแรงของอาการจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ใช้สายตาอยู่หน้าจอ

สาเหตุการเกิดโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม

นอกจากใช้สายตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์นานแล้วยังเกิดจากตำแหน่งจัดวางคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสม มีแสงสว่างหรือแสงสะท้อนมากเกินไป ระยะห่างระหว่างดวงตากับจอท่านั่งทำงานไม่เหมาะสม หรืออาจเกิดจากความผิดปกติสายตาของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดิจิตอลเองที่ไม่ได้รับการแก้ไข

วิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมได้แก่…

cvs (2)

  • วางหน้าจอห่างจากดวงตา 20-28 นิ้ว ควรให้จุดกึ่งกลางกึ่งกลางของหน้าจออยู่ต่ำกว่าระดับสายตาในแนวราบ 4-5 นิ้ว
  • ปรับแสงสว่างหน้าจอให้พอเหมาะ
  • เลือกใช้หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่มี Flicker Free Technology เพื่อลดความเสี่ยงต่อการปวดตา
  • ปรับทิศทางการเป่าของแอร์หรือพัดลมไม่ให้เป่าโดนตา
  • ควรพักสายตาทุก 20 นาที ถ้าต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานให้มองออกไปไกลๆ อย่างน้อย 20 ฟุตนาน 20 วินาที จะทำให้ดวงตาไม่เกิดอาการล้า
  • ขณะทำงานหน้าจอ ควรกะพริบตาให้บ่อยขึ้นหรือใช้น้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา
  • เมื่อปวดตาหรือตาพร่าไม่ควรขยี้ตา หากรู้สึกอ่อนล้าให้นวดคลึงเบาๆ และควรบริหารดวงตาเพื่อคลายความตึงเครียด

            

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *