3 พฤติกรรมเสี่ยง “โรคหลอดเลือดสมอง-สมองเสื่อม”

0

ประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง กว่า 5.7 ล้านคนต่อปี

เป็นสาเหตุการตายอันดับสองรองจากโรคมะเร็ง สำหรับทวีปเอเชีย พบว่าโรคสมองเสื่อมนั้น เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุอันดับหนึ่ง และโรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุอันดับสอง คำถามคือ อะไรบ้างที่เป็นพฤติกรรมเสี่ยงอันจะนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงโรคสมองเสื่อม?

ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคระบบประสาท อดีตหัวหน้าสาขาโรคระบบประสาท รพ.ศิริราช ให้ข้อมูลว่า…

ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 1.5 แสนคนต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ จากการศึกษาวิจัยของศิริราช โดยการติดตามผู้ที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 2 – 3 ปี พบว่าร้อยละ 33 จะเป็นสมองเสื่อม

นอกจากนี้มีข้อมูลระบุว่า ผู้ที่มีพฤติกรรม 3 เอส (3s) เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่…

3-risky-behavior-stroke-alzheimers-disease

1. การนอน (Sleep)

โดยผู้ที่นอนกรนจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป 3 เท่า และหากมีการหยุดหายใจระหว่างการนอนด้วยจะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้ที่นอนกรน และมีภาวะหยุดหายใจ จะทำให้สมองขาดออกซิเจน เนื่องจากออกซิเจนถือเป็นอาหารสมองที่สำคัญร่วมกับกลูโคส อย่างไรก็ตาม ผู้ที่นอนกรนและหยุดหายใจระหว่างนอนจะไม่รู้ตัวเอง ต้องให้คนนอนใกล้ชิดเป็นผู้สังเกต หรืออาจพิจารณาจากภาวะหลังตื่นนอนมักจะนอนไม่อิ่ม ตื่นไม่สดใส เรียกว่า นอนไม่มีคุณภาพ เมื่อสมองขาดออกซิเจนทุกคืนจะส่งผลให้สมองเสื่อม และเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง

2. เซ็กซ์ (Sex)

โดยเฉพาะกลุ่มเลสเบียนเกย์กลุ่มคนข้ามเพศ เสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมองเนื่องจากมีการใช้ฮอร์โมนปริมาณมาก รวมถึงผู้ที่ใช้ยาคุมเป็นเวลานานก็เสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

3. การสูบบุหรี่ (Smoking)

ผู้ที่สูบบุหรี่เสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนทั่วไป 2 เท่า


 

อาการแขนขา ชา อ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก กลืนลำบาก ทรงตัวลำบาก ปวดศีรษะ ถือเป็นอาการบ่งชี้ของโรคหลอดเลือดสมอง ต้องรีบมาโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดเพื่อรักษาให้ทันท่วงที

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *