3 โรคยอดฮิตของผู้สูงอายุ ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

0

โรคติดเชื้อในผู้สูงอายุถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยเฉียบพลัน และทำให้เกิดการเสียชีวิตได้บ่อย โดยพบว่าโรคติดเชื้อที่อันตรายในผู้สูงอายุมี 3 โรค ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม และโรคงูสวัด อย่างไรก็ตามก็ถือเป็นเรื่องดีเพราะทั้ง 3 โรคนี้สามารถใช้วัคซีนช่วยลดอัตราผู้ป่วยได้

สำหรับโรคงูสวัดนั้นพบถึง 50% ในผู้สูงอายุ 85 ปี และอายุยิ่งมากการแพร่กระจายและความรุนแรงของโรคก็ยิ่งมาก แต่จากการใช้วัคซีนรักษาพบว่าช่วยลดอุบัติเการณ์ได้ 51.3% ส่วนโรคปอดอักเสบ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตเนื่องจากการติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดในผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับ 4 ในผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงจากความชรา และระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งการมีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจวายเรื้อรัง หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

กลไกการเกิดโรคปอดอักเสบมักเกิดจากโรคติดเชื้อที่สำคัญ ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ หรือการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี บางรายอาจเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง เช่น ภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต เยื่อหุ้มสมองอักเสบในผู้สูงอายุ ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และอาจเสียชีวิตได้ การป้องกันพบว่าการให้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ร่วมกับวัคซีนนิวโมคอคคัส มีประสิทธิผลในการลดการเกิดปอดอักเสบและการติดเชื้อรุนแรง ลดอัตราการรับผู้ป่วยเข้าไว้ในโรงพยาบาล ตลอดจนลดอัตราการตายได้

ThinkstockPhotos-186757246

รู้จัก “ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม และโรคงูสวัด”

“ไข้หวัดใหญ่” เป็นโรคเกิดจากติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza viruses) เป็นโรคติด ต่อทางเดินหายใจเช่นเดียวกับโรคหวัด (ไข้หวัดธรรมดา หรือ ไข้หวัด) แต่จากไวรัสคนละชนิด และมีความรุนแรงสูงกว่าโรคหวัดธรรมดามาก

“โรคปอดบวม” หรือ “ปอดอักเสบ” เป็นโรคที่มีการติดเชื้อหรืออักเสบของปอด เกิดได้จากการติดเชื้อโรคต่างๆ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา หรืออาจ เกิดจากได้รับสารเคมี ยาบางอย่าง นอกจากนี้โรคปอดบวมอาจเป็นโรคที่เกิดแทรกซ้อนตามหลังไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ หรือโรคอื่นๆ เช่น หัด ก็ได้

“โรคงูสวัด” เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่บริเวณผิวหนังชนิดหนึ่ง ทำให้มีผื่นตุ่มขึ้นเป็นแนวยาวๆ บริเวณที่ขึ้นกันบ่อยคือ แนวบั้นเอวหรือแนวชายโครง บางคนอาจขึ้นที่ใบหน้า แขนหรือขาก็ได้ แต่จะขึ้นเพียงซีกหนึ่งซีกใดของร่างกายเท่านั้น โรคนี้มักไม่มีอันตรายร้ายแรง และหายได้เองเป็นส่วนใหญ่ แต่บางรายหลังแผลหายแล้วอาจมีอาการปวดประสาทนานเป็นแรมปี หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงตามมาได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *