2 ภัยสุขภาพที่ต้องเฝ้าระวังในปี 2561

0

“สุขภาพ” คือ ภาวะที่มีความพร้อมสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย มีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง คล่องแคล่ว มีกำลัง ไม่เป็นโรค ไม่พิการ ไม่มีอุบัติเหตุอันตราย มีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ ฉะนั้น “ภัยสุขภาพ” จึงนับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เราห่างไกลจากการมีสุขภาพที่ดี ว่าแต่ภัยสุขภาพที่ต้องเฝ้าระวังมีอะไรบ้างนะ?

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) แถลงข่าวพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพปี 2561 “7 โรค และ 2 ภัยสุขภาพที่ต้องเฝ้าระวังในปีหน้า” ว่า…

จากการวิเคราะห์สถานการณ์โรค โดยใช้วิธีอนุกรมเวลา วิเคราะห์จำนวนและช่วงเวลาการเกิดโรคต่างๆ เพื่อคาดการณ์แนวโน้มของการเกิดโรคและนำมาพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพที่สำคัญในปี 2561 เพื่อเฝ้าระวัง ในส่วนของ 2 ภัยสุขภาพที่ต้องเฝ้าระวังในปี 2561 ได้แก่

2-health-threats-to-be-monitored-in-2018

การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรในช่วงปีใหม่และสงกรานต์

โดยปีใหม่ 2561 คาดว่า จำนวนผู้บาดเจ็บ 27,000 ราย จำนวนผู้เสียชีวิตประมาณ 450 ราย ส่วนเทศกาลสงกรานต์ คาดว่า จำนวนผู้บาดเจ็บประมาณ 28,000 ราย เสียชีวิตประมาณ 420 ราย สิ่งสำคัญอยากให้ระมัดระวัง คือ เรื่องการใช้สมาร์ทโฟนระหว่างเดิน ขับขี่ยานพาหนะ เพราะเสี่ยงก่ออุบัติเหตุมากที่สุด

การป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจในช่วงปัญหาหมอกควันภาคเหนือตอนบน

โดยเฉพาะ ม.ค.- เม.ย.ของทุกปี เป็นช่วงอากาศหนาวเย็น อุณหภูมิต่ำและมีหมอกควันหนาขึ้น มีผลกระทบทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจ จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โรคปอดบวม/ปอดอักเสบ ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน คาดการณ์จำนวนผู้ป่วยในช่วง ม.ค.- เม.ย. 2561 จะมีจำนวนผู้ป่วยประมาณ 56,000 – 90,000 ราย ประชาชนและผู้ที่มีโรคประจำตัว ในพื้นที่เสี่ยงจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

สำหรับ “โรคปอดบวม/ปอดอักเสบ” นั้น เป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง เกิดจากการติดเชื้อหลายชนิด เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส มักเป็นโรคแทรกซ้อนหลังป่วยไข้หวัดประมาณ 3 วัน โดยผู้ป่วยจะมีไข้สูง ไอมีเสมหะ น้ำมูกเปลี่ยนสีจากสีเหลืองเป็นสีเขียวข้น เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบง่าย เด็กเล็กและผู้สูงอายุ อาจจะมีอาการเหล่านี้ไม่ชัดเจนหรือไม่ครบทุกอย่าง

ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงภัยสุขภาพเหล่านี้ ควรพาตัวเองและคนใกล้ชิดออกไปจากสถานที่ที่เสี่ยงต่อภัยสุขภาพเหล่านี้ หรือหากสงสัยว่าป่วยควรรีบไปตรวจวินิจฉัยอาการโดยด่วนค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *