เรื่องของฝีที่ผิวหนัง

0

หลายคนอาจพอทราบว่าฝีมีลักษณะหน้าตาเป็นอย่างไร แต่อาจจะนึกภาพไม่ออกว่าคนเราสามารถเกิดฝีที่ผิวหนังได้จริงหรือ คำตอบคือจริงค่ะ เรามาลองทำความรู้จักความผิดปกตินี้กันค่ะ

 

ฝี

 

ก้อนที่อยู่ใต้ผิวหนังเราเรียกกัว่า ฝี ซึ่งมักจะเต็มไปด้วยหนองหรือของเหลวแบบโปร่งแสง สาเหตุหลักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ฝีที่ผิวหนังอาจปรากฎขึ้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย อย่างไรก็ตามฝีมักจะเกิดขึ้นบริเวณ หลัง ใบหน้า หน้าอก หรือก้น ฝีที่ผิวหนังยังสามารถปรากฎในบริเวณที่มีการเจริญเติบโตของเส้นผม เส้นขนได้ เช่น ใต้วงแขนหรือขาหนีบ

ฝีที่ผิวหนังส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตรายและอาจหายไปเองโดยไม่รับการรักษาก็ได้ หรือแม้แต่ครีมหรือยาก็อาจเป็นสิ่งทีจำเป็นในกระบวนการรักษาฝี และยิ่งในบางครั้งฝีที่ผิวหนังรักษาได้ยากกกว่าจึงจำเป็นที่จะต้องระบายหนองหรือสิ่งที่เป็นของเหลวในหัวฝีออก แต่ก็มีในหลายกรณีที่ฝีอาจนะไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา

สาเหตุของการเป็นฝีที่ผิวหนัง

– แบคทีเรีย Staphylococcus เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของฝีที่ผิวหนัง อาจมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียเมื่อเช้าสู่ร่างกายผ่านทางรูขุมขนหรือโดยผ่านบาดแผล การบาดเจ็บที่ผิวหนัง และคุณอาจมีความเสี่ยงมากขึ้นสำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียจาก การเป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง โรคเบาหวาน ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือมีสุขอนามัยที่ไม่ดีนัก

– รูขุมขนที่ติดเชื้อ หรือรูขุมขนอักเสบอาจทำให้เกิดฝีในรูขุมขน ซึ่งสามารถติดเชื้อได้หากมีขนถูกกักไว้ไม่สามารถทะลุผ่านผิวหนังได้ กรณีนี้สามารถเกิดขึ้นได้หลังการโกนหนวด หรือแม้แต่รูขุมขนที่เรียกว่าขนคุด สามารถทำให้ติดเชื้อได้ ซึ่งฝีมักจะมีขนคุดร่วมอยู่ด้วย นอกจากนี้ยังอาจเกิดรูขุมขนอักเสบหลังจากใช้สระว่ายนํ้าที่ผสมคลอรีนไม่เพียงหรือการแช่อ่างนํ้าร้อน

 

ลักษณะฝีที่ผิวหนัง มักปรากฎเป็นรอยนูนบนผิวหนังคล้ายกับสิว อย่างไรก็ตามสามารถเติบโตได้อีกและอาจมีลักษณะคล้ายกับถุงนํ้าที่เต็มไปด้วยของเหลว อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยขึ้นอยู่กับสาเหตุของฝี อาการเหล่านี้อาจรวมถึง อาการเป็นไข้ คลื่นไส้  หนาวสั่น แผลบวม แผลบนผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ หรือหนองแตกอีกด้วย แต่โดยรอบแผลจะรู้สึกเจ็บเมื่อถูกสัมผัส

การวินิจฉัยการดูแลอาการเป็นฝี ปกติมักจะดูแลและรักษาด้วยตัวเองได้ที่บ้าน แต่ถ้าคุณมีอาการดังกล่าวที่จะบอกต่อไปนี้ให้พบแพทย์จะดีที่สุดค่ะ

– คุณยังเป็นเด็ก หรือมีอายุเกิน 65 ปี

– ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือเพิ่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล รวมไปถึงกลุ่มที่ใช้หรือเพิ่งได้รับเคมีบำบัด ปลูกถ่ายอวัยวะ

– ฝีผิวหนังอยู่ที่ใบหน้าหรือกระดูกสันหลัง หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รับการรักษาอาจแพร่กระจายไปยังสมองหรือไขสันหลังของคุณ

– ฝีมีขนาดใหญ่ ไม่หายไปใน 2 สัปดาห์และมีอาการไข้ร่วมด้วย และมีลักษณะจะแพร่กระจายไปส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

– มีอาการเจ็บปวดฝีมากขึ้นกว่าเดิม ผิวรอบฝีบวมหรือแดงมาก หรือมีอาการสั่น

– แขนหรือขาบวม

 

วิธีดูแลรักษาฝี

– รักษาเองที่บ้าน โดยใช้ความร้อนประคบให้ฝีหดตัวด้วยการใช้ผ้าขนหนูหนาชุบนํ้าอุ่นแล้วพบก่อนวางลงบนฝี

– ระบายหนองออก หากฝียังไม่สามารถจัดการได้อาจจะต้องทำการระบายฝีด้วยการใช้ยาชาและผ่าออกและห่อแผลไว้จะช่วยรักษาและป้องกันไม่ให้ฝีกลับมาเป็นซำ้ และอาจมียาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ

– ยาปฎิชีวนะ ในกรณีที่รุนแรงมักจะได้รับยา เพราะฝีที่มีความเสี่ยงสูงและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ และการใช้ยาเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ ไม่ให้กลับมาเป็นอีก

 

ดังนั้นหากผิวหนังของเราผิดปกติ มีก้อนหรือมีลักษณะที่แปลก รวมถึงความรู้สึกเจ็บให้ระมัดระวังอย่าแกะหรือพยายามจัดการเองนะคะเพราะอาจจะติดเชื้อและเป็นฝีได้โดยไม่รู้ตัว ดังนั้นวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดฝีคือการรักษาความสะอาด ด้วยการล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ หรือหากมีบาดแผล รอยขูดขีดบนผิวเล็กน้อยก็ควรทำความสะอาดเพื่อไม่ให้สะสมเชื้อ ใช้สบู่และทาครีมต้านเชื้อแบคทีเรียในกรณีที่มีแผล และใช้ผ้าปิด พันแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *