“อาการร่องก้นเป็นแผล”
หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า “โรคแผลปริที่ขอบทวารหนัก” คือ แผลที่ขอบหรือปากทวารหนัก ลักษณะเป็นรอยปริบริเวณขอบทวารหนัก โดยทั่วไปจะเห็นแผลเป็นรอยปริอยู่ตรงกลางทางด้านหลัง หรือด้านหน้าของทวารหนัก ทำให้มีอาการเจ็บรูทวารหนักเวลาอุจจาระ หรือเจ็บแสบบริเวณแผล
วิธีป้องกันหรือลดความเสี่ยงของการเกิดอาการร่องก้นเป็นแผล
- รับประทานผักและผลไม้ให้ประมาณ 18 ช้อนต่อวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับไฟเบอร์ที่เพียงพอ และเป็นการเพิ่มกากใยอาหารให้กับอุจจาระ ทำให้อุจจาระนิ่ม ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี ป้องกันอาการท้องผูก
- ควรดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
- ผู้ที่ท้องผูกง่ายควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ไม่มีเส้นใยหรือมีน้อย เช่น ไอศกรีม เนื้อสัตว์ หรืออาหารสำเร็จรูป อาหารประเภทแป้งแปรรูป (เช่น ขนมต่างๆ) ชา กาแฟ
- หมั่นออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว ซึ่งจะส่งผลดีต่อการทำงานของลำไส้ ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก ท้องไม่ผูก
- การฝึกให้มีนิสัยการขับถ่ายที่ดี การฝึกให้มีนิสัยการขับถ่ายที่ดีมีความสำคัญมาก อย่าเพิกเฉยหรือยับยั้งไว้เมื่อมีความรู้สึกปวดอยากขับถ่ายอุจจาระ ควรฝึกให้ถ่ายอุจจาระสม่ำเสมอ
- หากมีอาการท้องผูกต้องรีบรักษา โดยเฉพาะในกรณีที่ถ่ายไม่ออกหลายวัน และหลีกเลี่ยงการใช้ยาระบายต่อเนื่องยาวนานโดยไม่จำเป็น รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก
- หากมีอาการท้องเสียเรื้อรังหรืออุจจาระเหลวบ่อยครั้ง ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา
- หลีกเลี่ยงการสอดใส่สิ่งแปลกปลอมทางทวารหนัก รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
แม้โรคนี้จะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่อาการร่องก้นเป็นแผลย่อมความเจ็บปวดและความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้น การดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคเป็นสิ่งสำคัญนะคะ