“ยาคลายเครียด” กินไม่ระวังเสี่ยงติดและดื้อยา

0

ด้วยปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้า ทั้งการเรียน การงาน ครอบครัว ล้วนทำให้เกิดอาการเครียดได้ หนึ่งในวิธีคลายความเครียดที่หลายคนเลือก คือ การกินยาคลายเครียด เพื่อหวังผลในการช่วยลดความวิตกกังวล รวมถึงช่วยให้นอนหลับ ปัญหาคือบางคนกินยาคลายเครียดเป็นประจำ จนนำไปสู่อาการติดยาและดื้อยา

“ยาคลายเครียด”

หรือเรียกอีกอย่างว่า “ยากล่อมประสาท” เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อสมองหรือต่อจิตประสาท โดยยาจะออกฤทธิ์ กระตุ้น หรือกดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาวะอารมณ์และจิตใจ ยากลุ่มนี้จะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของสมอง อารมณ์ และร่างกาย ทำให้จิตใจสงบ คลายความวิตกกังวลได้ ช่วยให้การทำงานของสมองที่ควบคุมความเครียดทำงานได้ดีขึ้น ช่วยให้เกิดการนอนหลับ และลดความวิตกกังวล

stress-relievers-do-not-eat-risk-and-drug-resistance

สำหรับยาคลายเครียดนั้นมี 2 ประเภท

  1. ยาคลายเครียดที่ออกฤทธิ์แรง (Major Tranquilizers) จะออกฤทธิ์ตั้งแต่ทำให้ร่างกายและสมองมีอาการซึมลงจนถึงหลับสนิท เช่น ยา Phenothiazines ซึ่งมักใช้สำหรับผู้ที่มีอาการทางจิตเวชชนิดที่มีอาการประสาทหลอน เนื่องจากยาประเภทนี้ออกฤทธิ์แรง การใช้จึงต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์เท่านั้น
  1. ยาคลายเครียดที่ออกฤทธิ์อ่อน (Minor Tranquilizers) หรือ “ยาคลายวิตกกังวล (Anti-anxiety)” จะออกฤทธิ์ช่วยระงับความวิตกกังวล และคลายความเครียดของสมองและอารมณ์ ทำให้นอนหลับง่าย เช่น ยา กลุ่ม Benzodiazepine

ข้อควรระวัง คือ ยาคลายเครียด มีผลต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น เกิดอาการซึมมาก หลับนานผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน นอกจากนี้ ยาคลายเครียด จะมีตัวยาที่ออกฤทธิ์กดสมอง กดการหายใจ ทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลง จึงทำให้หมดสติได้ ขณะเดียวกัน ถ้ากินยาคลายเครียดติดต่อกันเป็นเวลานาน ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียง เช่น อาการติดยา ถ้าไม่ได้กินจะนอนไม่หลับ ดื้อยา ทำให้ต้องใช้ยาในปริมาณมากขึ้น ฤทธิ์ยาตกค้าง ฯลฯ

ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย การรับประทานยาคลายเครียดจึงควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น และไม่ควรซื้อยานี้รับประทานเอง เพราะแทนที่จะหายอาจเครียดหนักเพราะโรครุมเร้าได้ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *