ปวดศีรษะ 4 สไตล์… อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

0

คุณเคยรู้สึกปวดศีรษะแบบไม่มีสาเหตุไหม นั่นอาจบ่งชี้ถึงโรคร้ายแรง เช่น เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง เส้นเลือดในสมองผิดปกติ หรือแม้แต่สมองขาดเลือด เรามาแนะนำหนทางช่วยให้คุณทราบถึงต้นเหตุการปวด และผู้เชี่ยวชาญสามารถให้คำแนะนำแนวทางป้องกันก่อนเกิดโรคร้ายที่คุณเองก็อาจคาดไม่ถึง

#อย่าปล่อยให้ปวด 

people-2568886_1920

อาการปวดคือสัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม ในโอกาสครบรอบ 30 ปี โรงพยาบาลพญาไท 2 ปล่อยแพคเกจ “ตรวจคัดกรองปวดศีรษะ” เช็คเพื่อป้องกันก่อนเกิดโรคร้ายแรง ภายใต้แคมเปญ “ไม่อยากให้ใครป่วยมาโรงพยาบาล” ซึ่งมีบริการตรวจสุขภาพรายการอื่นๆ 30 แพคเกจ ครอบคลุมทุกช่วงวัยชีวิต

แบบไหนถึงเรียกปวด จริงจัง 

นายแพทย์ บัญชา เสียมหาญ อายุรแพทย์ระบบประสาท ศูนย์ระบบประสาทสมองและไขสันหลัง  โรงพยาบาล พญาไท เผยว่า…

“อาการปวดศีรษะ ส่วนใหญ่อาจไม่ได้เกิดจากโรคร้ายแรง แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการคร่าวๆ ดังต่อไปนี้ ควรรีบมาพบแพทย์ทันที เช่น อยู่ดีๆ ก็ปวดศีรษะแบบขั้นรุนแรงทันทีทันใด หรือเวลาปวดศีรษะทุกครั้งจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่ตอบสนองต่อการรักษาใดๆ ทั้งสิ้น รวมถึงอาการปวดศีรษะเป็นไข้ร่วมกับต้นคอแข็ง และสุดท้ายอาการปวดมักเกิดร่วมกับอาการทางระบบประสาท อย่างแขนขาอ่อนแรง สับสน มึน งง บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง เป็นต้น”

doctor-mar-buncha

4 ปวด 4 สไตล์ อันตรายต่างกัน

อาการปวดศีรษะนั้นมี 4 แบบ แต่ละแบบนำไปสู่ภาวะหรือสาเหตุแห่งโรคที่แตกต่างกัน

ปวดศีรษะแบบตึงตัว (Tension Type Headache)

อาการการปวดแนวนี้พบบ่อยที่สุด คนทั่วไปก็สามารถเป็นได้ เกิดจากความเครียด เหนื่อย ทำงานหนัก ลักษณะการปวดจะแน่นๆ รัดๆ ทั้งสองข้าง มีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง

ปวดศีรษะไมเกรน (Migraine Headache)

อาการปวดแบบนี้มักพบบ่อยกับวัยทำงาน ลักษณะการปวดจะรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก มักปวดเป็นระยะเวลานาน 4 ชั่วโมงขึ้นไป ปัจจัยอย่าง แสง เสียง สี และกลิ่นจะยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการคลื้นไส้อาเจียน

ปวดศีรษะแบบกลุ่ม (Cluster Headache)

อาการปวดประเภทนี้จะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง  จะมีอาการปวดบริเวณรอบดวงตาหรือขมับข้างใดข้างหนึ่ง เป็นอาการปวดแบบรุนแรงจนทำให้ผู้ป่วยกระสับกระส่าย มีอาการระบบประสาทร่วมอยู่ด้วย เช่น มีตาแดง มีน้ำตาไหล มีน้ำมูก และเหงื่อออก เป็นต้น

ปวดศีรษะแบบเรื้อรังทุกวัน (Choronic Daily Headache)

เป็นสไตล์ที่ปวดเป็นระยะเวลานาน อย่างน้อย 15 วันต่อเดือน ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการรับประทานยาเกินขนาด หรือกินยาผิดประเภท หรือไม่ก็เกิดจากภาวะไซนัสอักเสบ อาการเกี่ยวกับหลอดเลือดในสมอง หรือโรคมะเร็งก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ปวดเรื้อรังฉะนั้นผู้ป่วยควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ


อย่าปล่อยให้ปวด

พฤติกรรมเสี่ยงในการใช้ชีวิตประจำวันของคุณอย่างการเคี้ยวหมากฝรั่ง รับประทานอาหารหวาน เช่น ช็อกโกแลต ชีส หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงและแดดจ้า สิ่งเหล่านี้คือตัวกระตุ้นชั้นดี ที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวันเหล่านี้ได้ดังนี้

  1. นวดบริเวณขมับ เพื่อบรรเทาอาการปวด นี้ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณผ่อนคลายเฉพาะจุดที่ปวดและอาจทำให้อาการปวดเบาบางลง
  2. อยู่ในแสงไม่จ้าเพราะบางครั้งแสงไฟก็เป็นตัวกระตุ้นอาการปวดศีรษะ จากเดิมที่ปวดอยู่แล้ว ก็จะปวดมากยิ่งขึ้น ลองปิดไฟ แล้วเปิดเฉพาะดวงที่จำเป็น

วันนี้-30 สิงหาคม 2560 พบกับโปรแกรมตรวจคัดกรองศีรษะ(Headache Screening)ราคา 15,000 บาท (รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว)  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่ศูนย์ระบบประสาทสมองและไขสันหลัง โรงพยาบาล พญาไท 2 ชั้น 4 อาคาร 1 เปิดบริการทุกวัน เวลา08.00 – 17.00  น.Phyathai Call Center 1772 หรือ 0-2467-1111 ต่อ 7451, 4484 #อย่าปล่อยให้ปวด 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *