35+ ยังแจ๋ว ตั้งครรภ์วัยนี้ต้องดูแลอย่างไร

0

ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปสภาพสังคมและวัฒนธรรมก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย  จึงทำให้ผู้หญิงบางคนแต่งงานช้ามีลูกช้า  และด้วยความก้าวล้ำของเทคโนโลยีรวมไปถึงการหันมาดูแลเอาใจใส่ตัวเองมากขึ้น  ก็ทำให้คุณผู้หญิงหลายคนยังดูอ่อนกว่าวัยและสุขภาพแข็งแรงพอที่จะตั้งครรภ์ได้ในวัยนี้  แต่อย่างไรก็ตาม  อายุก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณต้องคอยระวังระหว่างสุขภาพอย่างใกล้ชิดค่ะ

ตั้งครรภ์วัยนี้ต้องดูแลอย่างไร (2)

อายุมีผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไร ?

  • ทำให้มีบุตรยาก เนื่องจากการตกไข่ลดลงหรือไข่ไม่สมบูรณ์
  • เกิดภาวะแท้งโดยไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ เพราะเข้าใจว่าประจำเดือนมาช้ากว่ากำหนด หรือแท้งบุตรง่ายจากสาเหตุบางอย่าง เช่น ไข่ไม่สมบูรณ์ ฮอร์โมนจากรังไข่ไม่เพียงพอต่อการตั้งครรภ์ในระยะแรกโดยพบว่าอายุ 25 ปี มีความเสี่ยงแท้งบุตรร้อยละ 12-15 และหากอายุ 40 ปี ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25
  • ทารกในครรภ์อาจมีความผิดปกติ เช่นความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือภาวะดาวน์ซินโดรมหรือทารกในครรภ์เติบโตช้า หากทารกคลอดก่อกำหนด มีน้ำหนักน้อยกว่าปกติอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หายใจเร็วเนื่องจากปอดยังทำงานได้ไม่เต็มที่
  • คุณแม่ตั้งครรภ์เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูงหรือหากเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ทารกจะตัวโตมากกว่าปกติทำให้เกิดปัญหาการคลอดยากตามมา “ตรวจสุขภาพ” ลดความเสี่ยงลูกน้อยพิการแต่กำเนิด

ตั้งครรภ์วัยนี้ต้องดูแลอย่างไร (1)

ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์วัย 35 ปีขึ้นไป ควรให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพ หากพบความเสี่ยงแพทย์จะวางแผนการรักษาได้อย่างทันท่วงที เพราะโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนมีมากกว่าการตั้งครรภ์เมื่ออายุยังน้อย โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติหรือคนในครอบครัวเสี่ยงเกิดโรคเช่น ดาวน์ซินโดรม ครรภ์เป็นพิษ หรือโรคประจำตัวอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน ควรพบแพทย์เพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ ฝากครรภ์แต่เนิ่น ๆ และตรวจสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ โดยมีการตรวจที่สำคัญดังนี้

 1. ทำอัลตร้าซาวด์ เพื่อตรวจดูอายุครรภ์และติดตามพัฒนาการทารกในครรภ์ โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์เกินวัย 35 ปีขึ้นไป จะมุ่งเน้นไปที่การตรวจวิเคราะห์หาสัญญาณการเกิดภาวะแทรกซ้อนและความผิดปกติของทารก

 2. ตรวจเลือด เพื่อคัดกรองดาวน์ซินโดรม หรือความผิดปกติทางโครโมโซมอื่น ๆ ของทารกในครรภ์

 3. เจาะน้ำคร่ำ เพื่อวินิจฉัยทารกในครรภ์ว่าเป็นดาวน์ซินโดรมหรือมีความผิดปกติทางโครโมโซมอื่น ๆ หรือไม่

เป็นคุณแม่ในวัย 35+ ก็แจ๋วได้นะคะ  ถ้าหมั่นดูแลร่างกายและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *