พ่อแม่ต้องระวัง! 10 อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่มักเกิดในเด็ก

0

อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุในเด็ก เป็นเรื่องที่ไม่ว่าใครก็คงไม่อยากให้เกิดขึ้น เพราะเมื่อเด็กประสบอุบัติเหตุแนวโน้มในการเสียชีวิตจะมีมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากร่างกายของเด็กยังอ่อนแอและบอบบาง เพื่อรับมือกับความเสี่ยงไปดูสถิติกันดีกว่าว่า 10 อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุของเด็ก ๆ มีอะไรบ้าง

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) รวบรวมสถิติข้อมูลเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุของเด็ก ๆ อายุระหว่าง 1-15 ปี ตลอดปี พ.ศ. 2559 พบว่า มีเด็กเจ็บป่วยฉุกเฉินทั้งสิ้น 156,525 คน

  1. เป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉินเกี่ยวกับกุมารเวชกรรมมากที่สุด คือ 56,101 คน
  2. อุบัติเหตุยานยนต์  36,203 คน
  3. พลัดตกหกล้ม 15,245 คน
  4. ปวดท้อง ปวดหลัง เชิงกราน ขาหนีบ 14,113 คน
  5. ป่วย อ่อนเพลีย อัมพาตเรื้อรัง 12,659
  6. หัวใจหยุดเต้น 5,642 คน
  7. สัตว์กัด 3,141คน
  8. ชัก  2,617 คน
  9. ปวดศีรษะ ภาวะผิดปกติทางตา หู คอ จมูก  1,599 คน
  10. แพ้ยา แพ้อาหาร  1,579 คน

ทริคเพื่อความปลอดภัยของลูกวัยซน

Sick child lying in the bed and touch her forehaed

  1. เมื่อพาเด็กโดยสารรถ ควรให้เด็กนั่งที่เบาะหลังและคาดเข็มขัดนิรภัย ส่วนเด็กเล็กควรนั่งคาร์ซีท จะช่วยลดความรุนแรงหากเกิดอุบัติเหตุได้ ในกรณีที่ขี่จักรยานยนต์ ให้เด็กสวมหมวกนิรภัยขนาดที่เหมาะสมกับเด็ก เพื่อป้องกันไม่ให้ศีรษะได้รับการกระแทก การกระทบกระเทือนทางศีรษะอาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้
  2. เมื่อพาเด็กไปเล่นตามเครื่องเล่นต่าง ๆ หรือตามสนามเด็กเล่น ควรระวังการพลัดตกหกล้มของเด็ก สามารถป้องกันความเสี่ยงโดยเช็คความแข็งแรงของเครื่องเล่น อุปกรณ์ทุกชิ้นต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งาน มีความแข็งแรง ไม่ชำรุดหรือเสื่อมโทรมจนไม่น่าไว้ใจ และถ้าเครื่องเล่นที่มีความสูง ต้องมีราวกันตกหรือผนังกันตก เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการตก และก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรง
  3. ใส่ใจเรื่องโภชนาการของเด็ก จัดเตรียมให้เด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบหมวดหมู่ในปริมาณที่เหมาะสม จัดสรรเวลาให้เด็กได้ทำกิจกรรมทางกายและออกกำลังกาย รวมถึงดูแลเรื่องสุขภาพและสุขอนามัยของเด็ก หากพบว่ามีอาการเจ็บป่วยหรือผิดปกติใด ๆ ควรรีบพาไปพบแพทย์ ไม่ซื้อยาให้กินเอง

ทั้งนี้ เมื่อเด็กเกิดอาการบาดเจ็บ เช่น หัวกระแทกโดยตกจากที่สูง หรือกระแทกกับพื้นที่มีความแข็ง พ่อแม่ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากเด็กสลบ ไม่รู้สึกตัว ชัก ปวดศีรษะหรืออาเจียน ควรรีบพาไปพบแพทย์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *